Page 111 - kpi20756
P. 111
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21 111
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
ลำดับหมายเลขซึ่งจะได้จำนวนผู้แทนกลุ่มจังหวัดละ 10 คน เมื่อรวมผู้แทนทั้ง 8 กลุ่มจังหวัด
เข้าด้วยกันก็จะได้จำนวนผู้แทนทั้งสิ้น 80 คน ในการคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน
13
ของแต่ละกลุ่มจังหวัดตามรัฐธรรมนูญ 2550 ไม่มีการกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำร้อยละ 5 เช่นเดียว
ของรัฐธรรมนูญ 2540 จึงส่งผลทำให้ทุกคะแนนเสียงถูกมาใช้คิดคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
14
แบบสัดส่วนทั้งหมด แต่พรรคการเมืองที่มีคะแนนเสียงน้อยจะไม่มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เพราะคะแนนไม่พอเท่านั้น ไม่ใช่เพียงเพราะคะแนนไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำของรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม
พบว่าการเลือกตั้งแบบสัดส่วนถูกวิจารณ์ในแง่ลบ เพราะการปัดเศษถึง 8 ครั้ง ใน 8 กลุ่มจังหวัด
ทำให้มีความได้เปรียบเสียเปรียบเป็นช่องว่างที่กว้างขึ้น และนอกจากนี้ยังมีอีกหลายประเด็นที่ถูก
วิพากษ์วิจารณ์และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
ต่อไป
หลังการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ในการ
เลือกตั้งปี 2554 ได้กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้ง โดยประกอบด้วย
สมาชิกจำนวน 500 คน ซึ่งเป็นสมาชิกแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 375 คน และสมาชิกแบบ
บัญชีรายชื่อจำนวน 125 คน โดยมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยยกเลิกระบบสัดส่วนทิ้งไป กลับมา
15
ใช้ระบบบัญชีรายชื่อ บัญชีเดียวทั่วประเทศ แต่ได้เพิ่มจำนวนจาก 80 เป็น 125 คน และไม่มี
เกณฑ์ขั้นต่ำของคะแนน ซึ่งการเลือกตั้งหลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 กำหนดให้
ประชาชนสามารถใช้สิทธิในโดยมีบัตรเลือกตั้งจำนวน 2 ใบ กล่าวคือ หนึ่งใบสำหรับเลือกสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต และอีกหนึ่งใบสำหรับเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชี
รายชื่อโดยเลือกบัญชีรายชื่อตามที่พรรคการเมืองจัดขึ้นโดยเลือกบัญชีรายชื่อใดเพียงบัญชีเดียว
และถือเขตของประเทศเป็นเขตในการเลือกตั้ง ในการคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบ
16
บัญชีรายชื่อให้นำคะแนนที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับการเลือกตั้งมารวมกันทั้งประเทศแล้ว
คำนวณเพื่อแบ่งจำนวนผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งแต่ละพรรคเป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์กันโดยตรงกับ
17
จำนวนคะแนนรวม
จากการคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อหลังการแก้ไขเพิ่มเติม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 พบว่าการได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อนั้นมีความเป็นเอกภาพมากขึ้นโดยประชาชนได้ตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง
ที่ตนเองประสงค์เพื่อกำหนดทิศทางอนาคตของประเทศผ่านการตัดสินใจตามนโยบายของ
พรรคการเมืองต่างกันกับระยะเริ่มแรกของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งเป็นการเลือกตั้ง
13 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 93
14 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 99
15 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 93
16 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 95 (แก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2554)
17 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 98 (แก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่ง เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2
ราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2554)