Page 112 - kpi20756
P. 112

112     การประชุมวิชาการ
                    สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
            ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย


                  แบบสัดส่วนโดยแบ่งออกเป็น 8 กลุ่มจังหวัด โดยแต่ละพรรคการเมืองได้ส่งลงสมัครจำนวน
                  8 บัญชีโดยการตัดสินใจในการเลือกผู้แทนแบบสัดส่วนนี้ มักเป็นการตัดสินใจเลือกที่คุณสมบัติ

                  ของตัวบุคคลของผู้แทนมากกว่าการตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองตามนโยบายของแต่ละพรรค
                  การเมืองที่เสนอต่อประชาชน อย่างไรก็ดีทั้งสองรูปแบบมีระบบและขั้นตอนในการคำนวณการได้
                  มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนหรือบัญชีรายชื่อนั้นมีรูปแบบและขั้นตอนที่ชัดเจนไม่มี

                  ความซับซ้อน


                       1.3)  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

                           รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดให้สมาชิกสภา

                  ผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งโดยทางตรงและลับ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวนทั้งสิ้น
                  500 คนโดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตซึ่งมีจำนวน 350 คน

                  โดยการแบ่งเขตของคณะกรรมการการเลือกตั้งจำนวน 350 เขตในประเทศไทย และสมาชิก
                  สภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 150 คน โดยพรรคการเมืองจัดทำบัญชีรายชื่อพรรคละ
                  1 บัญชี โดยผู้สมัครรับเลือกตั้งของแต่ละพรรคต้องไม่ซ้ำกัน และไม่ซ้ำกับรายชื่อผู้สมัครแบบ

                  แบ่งเขตเลือกตั้ง  ระบบการเลือกตั้งใหม่เรียกว่า “ระบบแบบจัดสรรปันส่วนผสม” ในการเลือกตั้ง
                                18
                  ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช 2560 นี้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงโดย

                  การใช้บัตรเลือกตั้งในการเลือกตั้งจำนวนหนึ่งใบ คือ หนึ่งคะแนนลงให้ผู้สมัครที่ชื่นชอบในเขตของ
                  ตนเท่านั้น โดยมีผลทำให้ถูกนับเป็นหนึ่งคะแนนในการคิดที่นั่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชี
                  รายชื่อให้กับพรรคการเมืองที่ผู้สมัครคนนั้นสังกัดด้วย 19


                           การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

                  พุทธศักราช 2560 เป็นระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ ซึ่งแตกต่างจากระบบการเลือกตั้งตาม
                  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และ 2550 ที่มีระบบการเลือกตั้งแบบ
                  คู่ขนานโดยประชาชนแสดงเจตจำนงในการเลือกผู้แทนผ่านการเลือกตั้งข้อเสียของระบบการ

                  เลือกตั้งแบบใหม่นี้ เนื่องจากพรรคการเมืองอื่นไม่ได้แต่จะมีความหวังที่จะได้คะแนนมากที่สุดเพื่อ
                  ใช้ในการคำนวณสัดส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ได้แก่ การเลือกตั้ง

                  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบการเลือกพรรคการเมือง
                  โดยการนำคะแนนเสียงที่ได้มาคำนวณที่นั่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อโดยแยก
                  ออกจากกันอย่างเป็นอิสระ ต่างกับเลือกตั้งในระบบใหม่นี้ประชาชนจะใช้สิทธิในการเลือกตั้งเพียง

                  ใบเดียวโดยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต และนำคะแนนที่ได้ไปคำนวณ
                  สัดส่วนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ โดยการคำนวณการได้มาซึ่งสมาชิกสภา

        เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2      18   รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 90
                  ผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อไม่ได้แยกขาดจากจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต
                  เพราะคะแนนทั้งประเทศที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับจะถูกนำไปคำนวณเพื่อให้ได้จำนวนสมาชิก







                    19
                        สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (มีนาคม 2559). ระบบการเลือกตั้งใหม่: แบบ
                  จัดสรรปันส่วนผสม. เอกสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์ http://www.parliament.go.th/library, หน้า 2.
   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117