Page 157 - kpi20756
P. 157
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21 1 7
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
ผู้นำมักนิยมรวบอำนาจไว้กับตัวเอง การทำงานจึงมีลักษณะสั่งการจากเบื้องบนลงมามากกว่าจะมี
การริเริ่มจากเบื้องล่าง ส่วนผู้น้อยจะต้องเกรงกลัว เคารพเชื่อฟังและอ่อนน้อมยอมจำนนต่อผู้มี
อำนาจ มีหน้าที่รับคำสั่งและปฏิบัติตามคำสั่งเท่านั้น ไม่นิยมการโต้แย้ง ไม่ว่าคำสั่งนั้นจะ
ชอบธรรมหรือไม่ ดังจะเห็นได้จากวัฒนธรรมทางการเมืองแบบอำนาจนิยม ที่มีในระบอบ
59
การปกครองในทุกระดับที่มักรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง โดยมีผู้บังคับบัญชาในระดับสูง เช่น
ผู้อำนวยการระดับกรม กอง สำนัก เป็นผู้มีอำนาจสั่งการจากเบื้องบนลงสู่เบื้องล่าง ยิ่งส่งเสริม
การเกิดโครงสร้างการบริหารจัดการภาครัฐ ที่มีผู้บังคับบัญชาสั่งการไว้ที่ส่วนกลางและหัวเมือง
ใหญ่ๆ ในภูมิภาคมากขึ้น จากปรากฏการณ์เช่นนี้ ยิ่งทำให้การบริการโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่ใน
การดำเนินการของรัฐ เช่น ด้านสาธารณสุขและด้านการศึกษาไม่สามารถกระจายอำนาจ
การบริหารลงสู่ชุมชนท้องถิ่นได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมจนทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำของ
สังคมขึ้น
3.2 วัฒนธรรมทางการเมืองที่ผู้คนเฉื่อยชา ไม่กระตือรือร้นหรือสนใจต่อกิจกรรม
ทางการเมือง
กล่าวคือ คนไทยส่วนใหญ่จะไม่ค่อยสนใจกิจกรรมทางการเมือง หรือเรื่องราว
ที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะ โดยทั่วไปจะพอใจในสถานภาพเดิมที่เป็นอยู่ของตน และ
ยอมรับสภาพที่เสียเปรียบไม่เป็นธรรมของตนเอง โดยถือว่าเป็นเรื่องของบุญกรรม โชคชะตาหรือ
วาสนา ดังเช่น ภายใต้ระบบกรรมสิทธิ์ที่ดินที่มีความสำคัญสูงต่อปัจจัยด้านการประกอบอาชีพ
เกษตรกรรม อันเป็นอาชีพหลักของผู้คนในสังคมไทยและเป็นพื้นฐานในการสร้างความมั่นคง
ในการดำรงชีวิตนั้น เมื่อประชาชนพบว่า มีการบุกรุกที่สาธารณะบางแห่ง แต่ประชาชนในท้องถิ่น
ก็มิได้เกิดความกระตือรือร้นเพื่อเรียกร้องที่ดินอันเป็นพื้นที่สาธารณะของชุมชนท้องถิ่นตนกลับคืนมา
หรือพยายามเข้าไปมีอำนาจในการตรวจสอบการใช้ที่ดินของรัฐใดๆ ทำให้ประชาชนไม่ได้ใช้สิทธิ
อันชอบธรรมในการอนุรักษ์ทรัพยากรของส่วนรวม และบางครั้งเป็นการเปิดโอกาสให้แก่กลุ่ม
นายทุน ข้าราชการระดับสูง และนักการเมืองบางรายเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ครอบครองที่ดิน
สาธารณะโดยมิชอบ และสร้างความร่ำรวยให้กับกลุ่มตนอันเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ
ของสังคมไทยด้านการถือครองที่ดิน 60
3.3 วัฒนธรรมแบบเจ้าขุนมูลนาย และการจัดลำดับฐานะสูงต่ำในความสัมพันธ์
ระหว่างบุคคล
วัฒนธรรมทางการเมืองของสังคมไทยมีการจัดลำดับฐานะความสัมพันธ์สูงต่ำระหว่าง
บุคคลและยอมรับความไม่เท่าเทียมกันจึงมักให้ความสำคัญกับเจ้านายหรือผู้มีอำนาจมากกว่า
นับเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนผู้มีรายได้น้อยและคนร่ำรวยมีทรัพย์สิน
เช่น ผู้มีอำนาจสามารถเข้าถึงการให้บริการของรัฐมากกว่าผู้มีรายได้น้อย และระบบเจ้าขุนมูลนาย
61
59 ทินพันธุ์ นาคะตะ. (2543). ประชาธิปไตย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สหายบล็อกและการพิมพ์.
60 พรอัมรินทร์ พรหมเกิด. (2556). สังคมวิทยาการเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2
ขอนแก่น.
61 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2557). อ้างแล้ว.