Page 156 - kpi20756
P. 156

1       การประชุมวิชาการ
                    สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
            ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย


                           ในงานการศึกษานี้ยังชี้ให้เห็นว่า การรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ชมรม สมาคม หรือองค์กร
                  ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มกีฬา กลุ่มดนตรี หรือองค์กรชุมชนอื่นๆ ที่ชักนำให้ผู้คนมาพบปะคบ

                  ค้าสมาคมกันด้วยความสมัครใจนี้จะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม ก่อให้เกิดความไว้วางใจ
                  ต่อกัน (trust) และเกิดความช่วยเหลือเกื้อกูลและความร่วมมือกัน ลักษณะความสัมพันธ์ดังกล่าว
                  นี้เรียกว่า “จารีตแบบพลเมือง” (civic tradition) และความไว้วางใจต่อกัน และความช่วยเหลือ

                  กันเช่นนี้ Putnam เรียกว่าเป็น “ทุนทางสังคม” (social capital) อย่างหนึ่งแล้ว ในที่สุด
                  Putnam ได้ข้อสรุปที่สำคัญของการศึกษาว่า “ความมั่งคั่งไม่ได้เป็นเหตุให้เกิดชุมชนที่เข้มแข็ง

                  แต่สังคมหรือชุมชนที่เข้มแข็งต่างหากที่ก่อให้?เกิดความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนขึ้น” อันสะท้อนให้เห็นว่า
                  วัฒนธรรมทางการเมืองมีผลต่อระบบสังคมเป็นอย่างมาก


                            ในตอนหลังการศึกษาเรื่อง วัฒนธรรมทางการเมืองได้นำไปสู่การพัฒนาแนวคิด เรื่อง
                  “การมีความรับผิดชอบของพลเมือง” (Sense of civic Responsibility) อันทำให้ระบอบ

                  การเมืองแบบประชาธิปไตยมีความยั่งยืนเกิดขึ้น ขณะเดียวกันก็เกิดความคิดของผู้คน ในเรื่อง
                  ความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงแนวคิดเรื่อง “ประชาสังคม” เสียใหม่ ในความหมายและ
                  ขอบเขตของการมีกลุ่ม ชมรม หรือสมาคมที่มีการรวมตัวกันอย่างอิสระ ซึ่งหมายความรวมถึง

                  องค์กรธุรกิจ กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ และชมรม สมาคม สโมสรต่างๆ ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว
                  แนวความคิดเหล่านี้ก็สามารถสืบย้อนไปได้ถึงแนวความคิดของ Alexis de Tocqueville ใน

                  ศตวรรษที่ 19 ที่ได้พยายามอธิบายถึงการสร้างสถาบัน อันเกี่ยวข้องกับความเสมอภาคของ
                  มวลมนุษย์ (egalitarian institutions) และการสร้างประชาธิปไตยในทางปฏิบัติของผู้คนในการ
                                                               58
                  เข้าร่วมเป็นกลุ่ม ชมรม หรือสมาคมของพลเมือง  ซึ่งช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้ เราจึง
                  เห็นได้ว่า ปัญหาเชิงวัฒนธรรมทางการเมือง และพฤติกรรมของผู้คนในสังคมมีความสัมพันธ์กับ
                  ความเหลื่อมล้ำทางสังคมเป็นอย่างมาก และประเด็นปัญหาเรื่องนี้จะเห็นได้อย่างชัดเจนมากขึ้น

                  ในการอภิปรายตามหัวข้อลำดับต่อไป


                  3. พื้นฐานวัฒนธรรมทางการเมืองไทยที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทาง

                  สังคม



                       ในสังคมไทยมีพื้นฐานวัฒนธรรมทางการเมืองของผู้คนหลายประการ ที่ส่งผลต่อการพัฒนา
                  ด้านการเมือง และมีผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม และยังเป็นปัจจัยสำคัญ

                  ที่ก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคมไทย เช่น

                       3.1  วัฒนธรรมทางการเมืองแบบอำนาจนิยม

        เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2   ผู้มีอำนาจ รวมทั้งมอบอำนาจและความรับผิดชอบในทุกสิ่งทุกอย่างไว้ที่ผู้นำ ทั้งนี้จะเห็นได้จาก
                           กล่าวคือ คนไทยส่วนใหญ่ชอบการใช้อำนาจเด็ดขาด เคารพเชื่อฟังและอ่อนน้อมต่อ



                  การปกครองในทุกระดับ นับแต่ครอบครัวไปจนถึงระดับชาติจะนิยมการใช้อำนาจบังคับให้มี
                  การปฏิบัติตามมากกว่าการใช้หลักการและเหตุผลหรือการรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง



                        Heywood, Andrew. (2007). Politics. (Third Edition). New York: PALGRAVE MACMILLAN.
                    58
   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161