Page 169 - kpi20756
P. 169
1
เหลียวหลัง แลหน้า
การศึกษากระบวนการประชาธิปไตย
และความเหลื่อมล้ำ
นิธิ เนื่องจำนงค์*
บทนำ
ประเด็นเกี่ยวกับประชาธิปไตยและความเหลื่อมล้ำนับเป็นสองประเด็นที่กำลังได้รับ
ความสนใจและถกเถียงกันอย่างกว้างขวางทั้งในแวดวงวิชาการ และนโยบายสาธารณะ ที่ผ่าน
มาสองประเด็นนี้มักจะได้รับการศึกษาในลักษณะที่ “แยกขาด” ออกจากกัน นักวิชาการที่ศึกษา
เกี่ยวกับกระบวนการประชาธิปไตยมักจะนำศึกษาเชื่อมโยงกับปัจจัยอื่นๆ เป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น
ระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ โครงสร้างทางสังคม วัฒนธรรมการเมือง บทบาทชนชั้นนำ และ
ปัจจัยภายนอก (ดูไชยวัฒน์ ค้ำชู และนิธิ เนื่องจำนงค์, 2555) ปัจจัยในเรื่องความเหลื่อมล้ำ
เพิ่งได้รับการสนใจในหมู่นักวิชาการด้านนี้เมื่อไม่ถึงสองทศวรรษที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้น
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการประชาธิปไตย และความเหลื่อมล้ำได้มีพัฒนาการ
ไปอย่างมาก ทั้งในเชิงทฤษฎี การตั้งข้อถกเถียง และการพิสูจน์ข้อถกเถียงผ่านกรณีศึกษา และ
ระเบียบวิธีวิจัยในรูปแบบต่างๆ
สำหรับการศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับความเหลื่อมล้ำนั้น หากไม่นับงานของไซมอน
คุซเนตส์ (Simon Kuznets) นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำ และตีพิมพ์ตั้งแต่ปีค.ศ.1955 (Kuznets, 1955)
และส่งอิทธิพลอย่างมากต่อแวดวงเศรษฐศาสตร์ และการพัฒนาเศรษฐกิจในยุคหลัง มีการตั้ง
ข้อสังเกตว่ากว่าที่ประเด็นด้านความเหลื่อมล้ำจะได้รับความสนใจอย่างจริงจังในสาขาวิชาอื่น ต้อง
* ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร