Page 173 - kpi20756
P. 173
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21 17
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
เผด็จการอำนาจนิยมไปสู่ประชาธิปไตยใน 88 ประเทศระหว่างปีค.ศ. 1960-2004 ซึ่งมีทั้งหมด
123 ครั้ง พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงย้อนกลับไปสู่เผด็จการอำนาจนิยมถึง 56 ครั้ง โดยภูมิภาค
ที่มีการเปลี่ยนแปลงย้อนกลับมากที่สุดคือแถบซับซาฮาราในแอฟริกา ที่มีการเปลี่ยนแปลงย้อน
กลับถึง 29 ครั้ง จากทั้งหมด 46 ครั้ง รองลงมาคือเอเชียที่มีการเปลี่ยนแปลงย้อนกลับ 13 ครั้ง
จากทั้งหมด 26 ครั้ง ร้อยละ 68 ของประเทศที่เปลี่ยนย้อนกลับไปสู่เผด็จการอำนาจนิยม
สามารถดำรงระบอบประชาธิปไตยไว้ได้ไม่ถึง 6 ปีเท่านั้น หากพิจารณาคุณลักษณะของประเทศ
ประชาธิปไตยย้อนกลับ จะพบความน่าสนใจในหลายประการ ดังเช่น ประการแรก ประเทศ
ประชาธิปไตยย้อนกลับมีประชากรที่อยู่ในระดับยากจนถึงร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับร้อยละ 20
ในประเทศที่รักษาประชาธิปไตยไว้ได้ ประการที่สอง ร้อยละ 52 ของประเทศประชาธิปไตย
ย้อนกลับเคยใช้ระบบรัฐสภามาก่อน สูงกว่ากรณีประเทศที่เคยใช้ระบอบประธานาธิบดีแล้วที่มี
สัดส่วนเพียงร้อยละ 36 เท่านั้น ประการที่สาม ร้อยละ 70 ของประเทศประชาธิปไตยย้อนกลับ
เกิดขึ้นในบริบทสถาบันการเมืองที่ขาดกลไกในการตรวจสอบและจำกัดอำนาจฝ่ายบริหาร
(Kapstein and Converse, 2008)
ตารางที่ 1 การเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตย และการล่มสลายของประชาธิปไตย
(ค.ศ. 1960-2004)
ทศวรรษที่ สถานะประชาธิปไตย
รวม
1960 1970 1980 1990 2000 ยังอยู่ ล่มสลาย
ลาติน 6 3 11 5 1 17 9 26
ยุโรปตะวันตก 1 3 0 0 0 3 1 4
ยุโรปตะวันออก 0 0 0 19 2 19 2 21
ซับซาฮารา 15 6 2 19 4 17 29 46
ตะวันออกกลาง 0 1 1 1 0 1 2 3
เอเชีย 4 7 3 8 1 10 13 23
รวม 26 20 17 52 8 67 56 123
ที่มา: ปรับปรุงจาก (Kapstein and Converse, 2008)
ในภาพรวม จะเห็นได้ว่าพัฒนาการของการศึกษากระบวนการประชาธิปไตยได้เริ่มต้นจาก
การมุ่งศึกษาปัจจัยเชิงโครงสร้าง ก่อนจะมาให้ความสัมพันธ์กับตัวแสดงเป็นสำคัญ สำหรับ
แนวทางการศึกษาในยุคต่อมาที่มุ่งเน้นเรื่องการสร้างความมั่นคงและยั่งยืนให้กับประชาธิปไตยนั้น
งานส่วนมากมักจะผสมผสานปัจจัยทั้งสองลักษณะนี้เข้าไว้ด้วยกัน และมักจะทำการศึกษาใน
ลักษณะของ “ปฏิสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์” ที่ให้ภาพทั้งการตัดสินใจของตัวแสดงภายใต้ข้อจำกัด
เชิงสถาบัน และโครงสร้าง ในบางกรณีได้มีการผสมผสานปัจจัยภายนอกเข้าไว้ในการศึกษาด้วย
เช่นกัน สำหรับจุดมุ่งเน้นในการศึกษาในยุคปัจจุบันนี้สามารถจำแนกได้เป็นสองส่วนนั่นคือ เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 3
การมุ่งศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพของประชาธิปไตย ซึ่งอาจเรียกรวมว่าเป็นกลุ่ม