Page 174 - kpi20756
P. 174

17      การประชุมวิชาการ
                    สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
            ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย


                  “คุณภาพของประชาธิปไตย” และการมุ่งศึกษาปัจจัยที่ส่งผลทำให้ประชาธิปไตยย้อนกลับหรือไม่
                  ย้อนกลับ โดยอาจเรียกรวมว่ากลุ่ม “การย้อนกลับของประชาธิปไตย” จุดมุ่งเน้นที่แตกต่างกันนี้

                  โดยมากมาจากกรณีศึกษาและความสนใจที่แตกต่างกันของนักวิชาการ


                  ว่าด้วยการศึกษาความเหลื่อมล้ำ



                       การศึกษาความเหลื่อมล้ำค่อนข้างแตกต่างจากการศึกษากระบวนการประชาธิปไตยค่อนข้าง

                  มาก หนึ่งในสาเหตุของความแตกต่างที่สำคัญคือ ขณะที่มุมมองต่อประชาธิปไตยของนักวิชาการ
                  ค่อนข้างจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันที่สนับสนุนประชาธิปไตย แต่มุมมองของนักวิชาการที่มีต่อ

                  ความเหลื่อมล้ำค่อนข้างจะมีความแตกต่างหลากหลาย และขัดแย้งกันอย่างมาก ขณะเดียวกันใน
                  ประเด็นเรื่องความเหลื่อมล้ำยังเกี่ยวเนื่องกับนักวิชาการหลากหลายสาขาตั้งแต่ปรัชญา
                  เศรษฐศาสตร์ และสังคมศาสตร์อีกด้วย จากความหลากหลายในการศึกษาด้านความเหลื่อมล้ำ

                  ทำให้การจัดกลุ่มข้อถกเถียงในเรื่องนี้ค่อนข้างยากลำบาก ในการทบทวนการศึกษาความเหลื่อมล้ำ
                  ในที่นี้จะมุ่งเน้นที่ประเด็นสำคัญที่สุดนั่นคือมุมมองที่มีต่อปัญหาความเหลื่อมล้ำ ว่าความเหลื่อมล้ำ

                  เป็นสิ่งปกติ เป็นเรื่องธรรมชาติ หรือเป็นปัญหาและความท้าทายของสังคมที่ต้องแก้ไข

                       ต่อประเด็นนี้หนึ่งในงานที่สำคัญที่สุดที่ส่งผลต่อมุมมองทางการศึกษาและเชิงนโยบายอย่าง

                  มากคืองานของไซมอน คุซเนตส์ (Kuznets, 1955) ในงานดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นว่าในกระบวนการ
                  พัฒนาเศรษฐกิจไปสู่ความทันสมัยที่ขับเคลื่อนผ่านการพัฒนาอุตสาหกรรม ความเหลื่อมล้ำ
                  จะสูงขึ้น โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาคการเกษตร และระหว่าง

                  เมืองและชนบท อย่างไรก็ตามเมื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมได้เพิ่มสูงขึ้น การขยายตัวของเมือง
                  สูงขึ้น จำนวนคนรายได้ต่ำที่อยู่ในเมืองจะเพิ่มขึ้นตามมา และคนกลุ่มนี้มักจะมีบทบาทเรียกร้องให้

                  รัฐบาลออกกฎหมายเพื่อคุ้มครอง และลดผลกระทบทางลบจากการพัฒนาอุตสาหกรรม
                  จากปัจจัยดังกล่าวนี่เองที่จะทำให้ในระยะยาวความเหลื่อมล้ำจะเริ่มลดลงตามลำดับ จากทฤษฎี
                  ดังกล่าวของคุซเนตส์ได้มีการพัฒนากลายเป็น “เส้นโค้งของคุซเนตส์” (Kuznets curve)


                       งานของคุซเนตส์สอดรับเป็นอย่างดีกับกระแสทฤษฎีการพัฒนาไปสู่ความทันสมัยที่กำลัง

                  ได้รับความนิยมในช่วงเวลานั้น โดยกระแสงานกลุ่มนี้มุ่งเน้นความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ
                  บนฐานของอุตสาหกรรม การจัดสรรทรัพยากรที่ไม่เท่าเทียมระหว่างภาคส่วนเศรษฐกิจต่างๆ และ

                  ความเชื่อที่ว่าในท้ายที่สุดผลจากการพัฒนาที่กระจุกตัวอยู่ในเขตเมือง และภาคอุตสาหกรรม
                  จะไหลล้นไปยังภาคส่วนอื่นๆ ด้วยเหตุที่ความเชื่อเหล่านี้ได้กลายเป็นสิ่งที่ลูเชียน พาย (Lucian
                  Pye) ตั้งข้อสังเกตว่าเป็น “จอกศักดิ์สิทธิ์” (grail) ที่ทุกคนทั่วโลกต่างยึดเป็นเป้าหมายร่วมกัน
        เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 3   หากแต่มองว่าเป็นสิ่งปกติในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจไปสู่ความทันสมัย
                  ที่อยู่เหนือการเมือง และข้ามเส้นแบ่งทางอุดมการณ์” (Pye, 1979) ได้ส่งผลตามมาทำให้มุมมอง
                  ของนักวิชาการ รวมทั้งผู้กำหนดนโยบายในขณะนั้นไม่ได้มองว่า “ความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหา”




                       มุมมองดังกล่าวสอดรับกับแนวคิดของนักปรัชญาการเมืองสายอิสระเสรีนิยม

                  (libertarianism) ในยุคนั้น โดยเฉพาะงานของรอเบิร์ต โนซิก (Robert Nozick) ซึ่งมีฐานคิดที่ว่า
   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179