Page 170 - kpi20756
P. 170
170 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
รอจนถึงช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 (Therborn, 2013) อนึ่งในช่วงแรกของการศึกษา
ความเหลื่อมล้ำ ด้วยอิทธิพลจากงานของคุซเนตส์ทำให้นักวิชาการมีแนวโน้มที่จะมองว่า
“ความเหลื่อมล้ำเป็นเรื่องปกติในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจ และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว
เท่านั้น ก่อนที่ในระยะยาวปัญหาดังกล่าวจะลดลงไปตามกระบวนการพัฒนา มุมมองที่ศึกษา
“ความเหลื่อมล้ำ” ในฐานะของปัญหาเพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้เท่านั้น และดังที่ได้กล่าวไปแล้ว
ข้างต้น หนึ่งในปัญหาที่ถูกนำไปเชื่อมโยงกับเรื่องความเหลื่อมล้ำคือปัญหาในกระบวนการพัฒนา
ประชาธิปไตย
ในบทความนี้ ผู้เขียนต้องการทบทวนการศึกษาในสามด้าน ได้แก่ การศึกษากระบวนการ
ประชาธิปไตย การศึกษาความเหลื่อมล้ำ และการศึกษากระบวนการประชาธิปไตยที่เชื่อมโยงกับ
ประเด็นเรื่องความเหลื่อมล้ำ ทั้งนี้โดยจะให้ความสำคัญกับการทบทวนในด้านสุดท้ายเป็นสำคัญ
โดยเป้าประสงค์ในการทบทวนการศึกษาทั้งสามด้าน ในที่นี้เพื่อมุ่งทำความเข้าใจว่าที่ผ่านมามีข้อ
ค้นพบสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการประชาธิปไตย และความเหลื่อมล้ำ
อย่างไร? อะไรคือข้อถกเถียงหลักในเรื่องนี้? ภายใต้ข้อค้นพบ และข้อถกเถียงเหล่านี้ อะไรคือ
ทิศทางในอนาคตของการศึกษาความสัมพันธ์ของสองสิ่งนี้? ในการตอบคำถามเหล่านี้ บทความนี้
จะจัดลำดับการนำเสนอออกเป็น 4 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ ส่วนที่ว่าด้วยการศึกษากระบวนการ
ประชาธิปไตย และส่วนที่ว่าด้วยการศึกษาความเหลื่อมล้ำ ในสองส่วนนี้ผู้เขียนจะทำการทบทวน
ทิศทางการศึกษาที่ผ่านมาอย่างสังเขป รวมทั้งตั้งข้อสังเกตบางประการถึงแนวทางการศึกษา
ในอนาคตในแต่ละเรื่อง ในส่วนถัดมาจะกล่าวถึงการศึกษาประชาธิปไตยและความเหลื่อมล้ำ
ส่วนนี้จะมุ่งเน้นกล่าวถึงทฤษฎี และข้อถกเถียงสำคัญในแง่มุมที่เกี่ยวเนื่องกับความสัมพันธ์
ระหว่างสองสิ่งนี้ ในส่วนสุดท้ายจะทำการสรุปภาพรวมข้อสังเกตจากการทบทวนการศึกษาในเรื่อง
เหล่านี้ และนัยสำคัญบางประการสำหรับการศึกษาในอนาคต รวมทั้งนัยสำคัญเชิงนโยบาย
สาธารณะ
ว่าด้วยการศึกษากระบวนการประชาธิปไตย
การศึกษากระบวนการประชาธิปไตยเป็นการศึกษาที่เต็มไปด้วยพลวัตอย่างมาก ดังที่
ผู้เขียนได้เคยศึกษาทบทวนในเรื่องนี้มาแล้ว (ดูไชยวัฒน์ ค้ำชู และนิธิ เนื่องจำนงค์, 2555)
หมุดหมายสำคัญของการศึกษากระบวนการประชาธิปไตยเริ่มต้นจากงานของเซย์มูร์ มาร์ติน
ลิปเซต (Seymour Martin Lipset) ในปีค.ศ. 1959 (Lipset, 1959) งานดังกล่าว ซึ่งอาจ
กล่าวได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของข้อถกเถียงระลอกที่หนึ่ง ได้ส่งผลในการกำหนดทิศทางการถกเถียง
เรื่องกระบวนการประชาธิปไตย โดยนำไปเชื่อมโยงกับปัจจัยเชิงโครงสร้างที่สำคัญนั่นคือ
เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 3 ความสำคัญกับปัจจัยเชิงโครงสร้าง ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
การพัฒนาเศรษฐกิจ หลังจากงานชิ้นดังกล่าวเป็นต้นมาข้อถกเถียงในระลอกแรกล้วนแล้วแต่ให้
การเมือง หรือการมุ่งเน้นพิสูจน์ข้อเสนอของลิปเซต ซึ่งยังคงได้รับการพิสูจน์และปรับปรุงทฤษฎี
เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน