Page 189 - kpi20756
P. 189
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21 18
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
2003; 2007) นอกจากชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างความเหลื่อมล้ำที่ไม่ใช่แง่มุมทาง
เศรษฐกิจกับประชาธิปไตยแล้ว สิ่งที่น่าสนใจในงานของทิลลีคือข้อเสนอในการแก้ปัญหา ที่เขาได้ชี้
ให้เห็นถึงความสำคัญของ “ศักยภาพของรัฐ” ในการแทรกแซง ควบคุม ดึงเอาทรัพยากรจาก
ภาคส่วนต่างๆ และการจัดสรรทรัพยากรใหม่ ทิลลียังชี้อีกว่าในศตวรรษที่ 21 รัฐต้องพยายาม
ควบคุมข้อมูลข่าวสาร สื่อมวลชน องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และทุนทางการเงิน เนื่องจาก
สิ่งเหล่านี้สามารถเป็นภัยคุกคามต่อปัญหาความเหลื่อมล้ำในลักษณะใหม่ได้ทั้งสิ้น (Tilly, 2003)
ผู้เขียนมองว่านอกเหนือจากงานที่ศึกษาสหสัมพันธ์ระหว่างความเหลื่อมล้ำและกระบวนการ
ประชาธิปไตยที่มักศึกษาบนฐานของระเบียบวิธีเชิงปริมาณแล้ว ยังควรให้ความสนใจในการศึกษา
ความเหลื่อมล้ำในมิติอื่นๆ ที่นอกเหนือจากความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอีกด้วย เช่นเดียวกับ
การศึกษาในเชิงคุณภาพที่มุ่งทำความเข้าใจ “กลไกการทำงานของความเหลื่อมล้ำ” หรืองานที่ให้
ความสนใจในการศึกษาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ควรมุ่งวิเคราะห์ปัญหาความเหลื่อมล้ำในแง่
มุมใหม่ๆ ดังที่ทิลลีได้เสนอไว้ เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 3