Page 187 - kpi20756
P. 187

การประชุมวิชาการ
                                                                                        สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21   187
                                                                                        ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย


                            ปัจจัยสำคัญที่มีการชี้ให้เห็นคือ “ศักยภาพของรัฐ” ซึ่งนักวิชาการหลายฝ่ายมองว่ามีความ
                      สำคัญอย่างมาก เนื่องจากในการขับเคลื่อนเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำจำเป็นต้องอาศัยศักยภาพ

                      ของรัฐในหลากหลายลักษณะ ทั้งการดึงเอาทรัพยากรจากชนชั้นนำผ่านการเก็บภาษีลักษณะต่างๆ
                      และการนำนโยบายไปปฏิบัติ หากกลไกของรัฐขาดศักยภาพแล้ว การนำนโยบายไปปฏิบัติอาจไม่
                      บรรลุผล ทั้งยังอาจส่งผลในทิศทางตรงกันข้าม ดังหลากหลายกรณีในลาตินอเมริกาที่การนำ

                      นโยบายทางสังคมไปปฏิบัติมักจะล้มเหลวเนื่องจากประสบกับปัญหา “ระบบอุปถัมภ์” และส่งผล
                      ทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทวีมากขึ้น เช่นเดียวกับส่งผลในทางลบต่อความชอบธรรมของระบอบ

                      ประชาธิปไตย (Diamond, 2014) อีกหนึ่งปัจจัยที่มีการชี้ให้เห็นคือการเข้าถึงปัจจัย 4 ที่จำเป็น
                      ต่อการดำรงชีวิต โดยความเหลื่อมล้ำจะไม่ส่งผลต่อประชาธิปไตยหากประชาชนส่วนมากยัง
                      สามารถเข้าถึงปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตได้  แต่เมื่อใดก็ตามที่ผลจากการพัฒนาเศรษฐกิจ

                      ไม่ส่งผลทำให้ประชาชนเข้าถึงปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตได้ เมื่อนั้นเสถียรภาพของ
                      ประชาธิปไตยจะได้รับผลกระทบตามมา (Reenock, Bernhard and Sobek, 2007)


                            ประการที่ห้า หากทบทวนจากงานที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประชาธิปไตยและความ
                      เหลื่อมล้ำในเชิงประจักษ์ จะพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทั้งสองยังค่อนข้างสับสน และยังไม่

                      มีข้อยุติ แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วจะเชื่อกันว่า 1) ความเหลื่อมล้ำจะส่งผลต่อการเปลี่ยนจากเผด็จการ
                      อำนาจนิยมสู่ประชาธิปไตย 2) ความเหลื่อมล้ำส่งผลต่อการล่มสลายของประชาธิปไตย และ

                      3) ประชาธิปไตยจะส่งผลในเชิงบวกต่อการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ อย่างไรก็ตาม งานจำนวน
                      ไม่น้อยได้สะท้อนให้เห็นว่า 1) ความเหลื่อมล้ำไม่ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนสู่ประชาธิปไตย (Muller,
                      1988; Houle, 2009; Teorell, 2010) 2) แม้ว่าในบางกรณีความเหลื่อมล้ำจะส่งผลต่อการ

                      ล่มสลายของประชาธิปไตย แต่กรณีส่วนมากแล้วการล่มสลายของประชาธิปไตยไมได้มีที่มาจาก
                      ความเหลื่อมล้ำ (Teorell, 2010; Haggard and Kaufman, 2016) 3) “ประชาธิปไตยไม่ได้ส่งผล

                      ต่อการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำเสมอไป” (Bollen and Jackman, 1985; Sirowy and Inkeles,
                      1990; Timmons, 2010) งานบางชิ้นได้ทำการเปรียบเทียบการดำเนินนโยบายสาธารณะระหว่าง
                      ประเทศประชาธิปไตย และประเทศที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย และมีข้อค้นพบว่าประเทศประชาธิปไตย

                      มีอัตราการเก็บภาษีรายได้ทางตรงที่น้อยกว่าประเทศที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย ทั้งๆที่ภาษีทางตรงเป็น
                      กลไกสำคัญในการกระจายทรัพยากร ขณะที่การดำเนินนโยบายสังคมไม่มีความแตกต่างระหว่าง

                      กัน ในแง่นี้อาจกล่าวได้ว่าประชาธิปไตยอาจไม่ได้ส่งผลต่อการกระจายทรัพยากรในสังคมเพื่อลด
                      ความเหลื่อมล้ำมากนัก (Mulligan, Gil and Sala-i-Martin, 2004)


                            สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ประเทศประชาธิปไตยไม่อาจดำเนินนโยบายกระจาย
                      ทรัพยากรได้มากนักอาจจะเนื่องมาจากการที่ชนชั้นนำสามารถเข้าไปส่งอิทธิพลต่อกระบวนการ

                      ทางการเมือง และชักจูงให้รัฐบาลดำเนินนโยบายในทิศทางที่เอื้อต่อการรักษาผลประโยชน์
                      ของชนชั้นนำและฝ่ายอนุรักษนิยม (Ardanaz and Scartascini, 2013) จากข้อค้นพบเหล่านี้
                      นักวิชาการบางคนถึงกับกล่าวว่า “ประชาธิปไตยมีข้อดีหลายประการ แต่การลดความเหลื่อมล้ำ

                      อาจจะไม่ใช่หนึ่งในนั้น” (Timmons, 2010) อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าประชาธิปไตยจะไม่ส่งผลในเชิง
                      บวกต่อการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำโดยทั้งหมด แต่การที่ประชาธิปไตยจะส่งผลในลักษณะ                      เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 3
   182   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192