Page 186 - kpi20756
P. 186
18 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
ในส่วนสุดท้ายผู้ที่รับประโยชน์จากการกระจายทรัพยากรนั่นคือก็มีความสำคัญ หากมวลชน
ยังค่อนข้างขาดความตื่นตัว และความตระหนักในสภาพปัญหาความเหลื่อมล้ำ สิ่งที่อาจจะตามมา
คือปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจจะขยายตัวมากขึ้น เช่นเดียวกับช่องว่างความเหลื่อมล้ำ
ทางการเมืองระหว่างชนชั้นนำ และมวลชน อย่างไรก็ตามหากพิจารณาจากผลสำรวจค่านิยม
ระดับโลก (World Value Survey) ในปีค.ศ. 2005 และ 2008 พบว่าพลเมืองจาก 11 ใน
16 ประเทศกำลังพัฒนา เห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า “เราต้องการให้มีความแตกต่างทางรายได้เพื่อ
เป็นแรงจูงใจ” ในสัดส่วนที่มากกว่าคนที่เห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า “รายได้ควรมีความเท่าเทียม
มากกว่านี้” ผลสำรวจดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าพลเมืองจำนวนไม่น้อยยังมีทัศนคติในทิศทางที่
เกื้อหนุนต่อโครงสร้างความเหลื่อมล้ำ (Bermeo, 2009)
ประการที่สาม สิ่งที่น่ากังวลมากที่สุดในปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ คือแนวโน้ม
ที่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจจะส่งผลตามมาทำให้ความเหลื่อมล้ำในด้านอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น
โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำทางการเมือง ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ชนชั้นนำไม่จำเป็นว่าจะต้องใช้ความ
รุนแรงในการกดทับข้อเรียกร้องของมวลชนในการกระจายทรัพยากรเสมอไป แต่สามารถใช้ฐาน
ทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่ตนเองมีเข้าไปส่งอิทธิพลต่อกระบวนการทางการเมือง โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งในระบอบประชาธิปไตยที่ชนชั้นนำสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองได้หลากหลายลักษณะ
ทั้งการลงคะแนนเสียงในฐานะพลเมือง การให้เงินบริจาคแก่นักการเมือง และพรรคการเมือง และ
การล๊อบบี้ เป็นต้น ต่างจากมวลชนที่มักจะสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการผ่านการลงคะแนน
เสียงเลือกตั้งเท่านั้น หากกระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นท่ามกลางบริบทที่มวลชนขาดความตื่นตัว
ทางการเมืองแล้ว โอกาสที่ระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตยจะเอื้อต่อการแก้ปัญหาความ
เหลื่อมล้ำจะยิ่งมีน้อยลง และในระยะยาวอาจส่งผลทำให้ความเชื่อมั่นในระบอบการปกครองแบบ
ประชาธิปไตยของมวลชนจะยิ่งลดน้อยถอยลง ในแง่นี้การออกแบบสถาบันการเมืองที่สามารถ
ป้องกันคนบางกลุ่มในการเข้าไปมีอิทธิพลทางการเมืองมากเกินไปอาจเป็นสิ่งที่จำเป็น เช่นเดียวกับ
การสร้างความตระหนักในอันตรายของปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และการทำให้ปัญหา
ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเป็น “ประเด็นสาธารณะ” ที่มีการถกเถียงและรับรู้เป็นวงกว้างก็เป็น
สิ่งที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน
ประการที่สี่ ความสัมพันธ์ระหว่างความเหลื่อมล้ำกับประชาธิปไตย ไม่ได้เป็นความสัมพันธ์
ที่เรียบง่าย และเกี่ยวข้องกับปัจจัยเพียงหนึ่งหรือไม่กี่ตัวเท่านั้น หากแต่เป็นความสัมพันธ์ที่
สลับซับซ้อน เกี่ยวข้องกับทั้งปัจจัยทางเศรษฐกิจ และการเมือง (Kenworthy, 2017) แม้ว่างาน
ในยุคแรกจะพยายามชี้ให้เห็นถึงตรรกะความสัมพันธ์ระหว่างสองสิ่งนี้ ภายใต้การคาดคะเน
ปฏิสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์ระหว่างชนชั้นนำ และมวลชนท่ามกลางเงื่อนไขของสถานการณ์ที่
เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 3 ความเหลื่อมล้ำและประชาธิปไตยอาจไม่ได้เรียบง่ายดังที่งานในช่วงแรกชี้ให้เห็น หากแต่เกี่ยวข้อง
แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามงานในยุคหลังที่ได้ทำการทดสอบเชิงประจักษ์กับกรณีศึกษาในลักษณะ
ต่างๆ ทั้งในเชิงปริมาณ และคุณภาพ ได้ชี้ให้เห็นว่าในความเป็นจริง ความสัมพันธ์ระหว่าง
กับปัจจัยและเงื่อนไขอื่นๆ