Page 188 - kpi20756
P. 188
188 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
ดังกล่าวได้จำเป็นต้องอาศัยเงื่อนไขบางประการ ดังที่ในงานของเอ็ดเวิร์ด มุลเลอร์ (Edward
Muller) ชี้ว่าประชาธิปไตยจะส่งผลในทางบวกต่อการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำก็ต่อเมื่อประเทศ
ดังกล่าวมีประชาธิปไตยในระดับสูง และมีระยะเวลาของการปกครองภายใต้ประชาธิปไตย
ที่ยาวนาน (Muller, 1988) หากพิจารณาจากแผนภาพที่หนึ่ง ประเทศประชาธิปไตยที่ประสบ
ความสำเร็จในการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำคือประชาธิปไตยก้าวหน้าที่ขยายขอบเขตของ
ประชาธิปไตยให้ครอบคลุมประเด็นเรื่องสิทธิและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคมอีกด้วย
ตัวอย่างสำคัญของประเทศประชาธิปไตยลักษณะนี้คือประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย ดังนั้น
การทำความเข้าใจเงื่อนไขและปัจจัยที่ส่งผลให้ประชาธิปไตยสามารถเอื้อต่อการแก้ปัญหา
ความเหลื่อมล้ำได้ผ่านกรณีศึกษาเหล่านี้จึงอาจเป็นสิ่งจำเป็น
สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ประชาธิปไตยที่ดำรงอยู่ต่อเนื่องยาวนานมีแนวโน้มที่จะสามารถ
แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำได้อาจจะเนื่องมาจากบริบทของการก่อตัวของประชาธิปไตย ที่ในบางช่วง
เวลาแนวคิดกระแสหลักทางเศรษฐกิจมีทิศทางที่สนับสนุนบทบาทการแทรกแซงของภาครัฐ แต่
สำหรับประเทศประชาธิปไตยคลื่นลูกที่สาม ซึ่งบริบทการก่อตัวของประเทศประชาธิปไตยกลุ่มนี้
เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่อุดมการณ์แบบเสรีนิยมใหม่กลายเป็นอุดมการณ์ครอบงำ รัฐบาล
ประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นมาในช่วงนี้มักจะลดบทบาทการแทรกแซงในกลไกตลาดตามแนวคิดแบบ
เสรีนิยมใหม่ (Fukuyama, 2011) ทำให้โอกาสในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของกลุ่มประเทศ
เหล่านี้มีค่อนข้างจำกัดนั่นเอง
ประการที่หก แม้ว่าประเด็นส่วนมากจะยังไม่มีข้อยุติ แต่ประเด็นหนึ่งที่ดูเหมือนว่างาน
ส่วนมากจะมีข้อสรุปในทิศทางเดียวกันนั่นคือ ความเหลื่อมล้ำส่งผลกระทบในทางลบต่อความ
มั่นคงและยั่งยืนของประชาธิปไตย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือส่งผลทำให้คุณภาพของประชาธิปไตย
ลดลงนั่นเอง (Muller, 1988; Przeworski et al, 2000; Rueschemeyer, 2004; Bermeo,
2009; Houle, 2009) โดยความเหลื่อมล้ำจะส่งผลทำให้ศักยภาพในการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ของพลเมืองลดลง (Crawford and Abdulai, 2012) เกิดการแบ่งขั้วทางการเมือง ระดับทุนทาง
สังคมที่ลดลง (Putnam, 2000) ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของพลเมืองลดลง ทั้งความเชื่อมั่นทั่วไป
ที่มีต่อพลเมือง (Kawachi et al, 1997) และความเชื่อมั่นที่มีต่อสถาบันการเมืองแบบ
ประชาธิปไตย (Karl, 2000) ส่งผลต่อความชอบธรรมของสถาบันการเมืองแบบประชาธิปไตย
(Diamond, 1999) และดังที่ได้กล่าวไปแล้วส่งผลต่อความเหลื่อมล้ำทางการเมือง โดยเฉพาะ
ระหว่างชนชั้นนำ และมวลชน
ประการที่เจ็ด งานที่ศึกษาความเหลื่อมล้ำกับกระบวนการประชาธิปไตยส่วนมากมักจะ
เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 3 (Charles Tilly) โดยทิลลีชี้ให้เห็นว่าการขยายตัวของความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มต่างๆ
มุ่งเน้นศึกษา “ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ” เป็นสำคัญ ยังค่อนข้างขาดงานที่ศึกษาความเหลื่อมล้ำ
ในมิติอื่นๆ ที่ส่งผลต่อประชาธิปไตย ตัวอย่างของงานในลักษณะนี้ดังเช่นงานของชาร์ลส ทิลลี
(categorical inequality) เช่น ความเหลื่อมล้ำระหว่างเพศ ชาติพันธุ์ ศาสนา ชุมชน เป็นต้น
และการที่ความเหลื่อมล้ำเหล่านี้ได้ลุกลามเข้าไปยังกระบวนการทางการเมือง จะส่งผลตามมา
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่หันเหออกจากประชาธิปไตย (de-democratization) (Tilly,