Page 185 - kpi20756
P. 185

การประชุมวิชาการ
                                                                                        สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21   18
                                                                                        ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย


                      เต็มไปด้วยอุปสรรคนานัปการ ที่ในบางช่วงเวลาอาจส่งผลทำให้เกิดการเสื่อมความเข้มแข็งของ
                      ประชาธิปไตย หรือกระทั่งประชาธิปไตยที่ล่มสลาย แนวการศึกษา “คุณภาพประชาธิปไตย” เกิด

                      ขึ้นมาภายใต้ความตระหนักในความซับซ้อนของกระบวนการดังกล่าว ด้วยเป้าประสงค์ที่ต้องการ
                      พัฒนา “เกณฑ์การชี้วัดระดับคุณภาพประชาธิปไตย” ที่สามารถประยุกต์ใช้ได้เป็นวงกว้าง และ
                      ทำหน้าที่เป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงสถานะของประชาธิปไตย สำหรับทิศทางการศึกษา

                      กระบวนการประชาธิปไตยในอนาคตนั้น ผู้เขียนมองว่าควรให้ความสำคัญกับ “แง่มุมเชิงลบ” หรือ
                      ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำให้ประชาธิปไตยย้อนกลับ หรือผุกร่อน การทำความเข้าใจในปัจจัยเหล่านี้

                      จะส่งผลทำให้เข้าใจถึง “ภัยคุกคามของประชาธิปไตย” ได้เป็นอย่างดี หากตัวแสดงทางการเมือง
                      ต่างๆมีความตระหนักร่วมกันตรงจุดนี้แล้ว การจะยกระดับคุณภาพประชาธิปไตยจะเป็น
                      สิ่งที่ดำเนินไปได้อย่างง่ายดายมากขึ้น ในทางกลับกันหากประชาธิปไตยย้อนกลับไปแล้ว

                      การจะครุ่นคิดถึงการเพิ่มคุณภาพประชาธิปไตยจะเป็นสิ่งที่ยากลำบาก และไม่สอดคล้องกับ
                      ความเป็นจริง


                            ประการที่สอง ในการศึกษาความเหลื่อมล้ำ ดูเหมือนว่าในปัจจุบันได้เกิด “ฉันทามติว่าด้วย
                      ความสำคัญของปัญหาความเหลื่อมล้ำ” เกิดขึ้นทั้งในหมู่นักวิชาการ และผู้กำหนดนโยบาย

                      ในระดับต่างๆ จากเดิมที่ผ่านมาตัวแสดงเหล่านี้มักจะมีแนวโน้มที่จะมองความเหลื่อมล้ำว่าเป็น
                      เรื่องธรรมชาติ และเป็นสิ่งที่ปกติ รวมทั้งยังได้สนับสนุนการดำเนินนโยบายที่ส่งผลตามมาทำให้

                      ช่องว่างความเหลื่อมล้ำขยายตัวมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในการขับเคลื่อนวาระการแก้ปัญหา
                      ความเหลื่อมล้ำอาจไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น และง่ายดายมากนัก ปัญหาสำคัญในเรื่อง
                      นี้มีด้วยกันสามส่วน ในส่วนแรก มีการชี้ให้เห็นว่าชนชั้นนำ ที่เป็นผู้ได้รับประโยชน์มากที่สุดจาก

                      สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำ มีแนวโน้มที่จะมองว่ารัฐบาลไม่ควรทุ่มเทงบประมาณเพื่อลดช่องว่าง
                      ทางรายได้ ยกระดับมาตรฐานการครองชีพ แก้ปัญหาการว่างงาน และมองว่ามาตรการช่วยเหลือ

                      ทางสังคมมักจะส่งผลให้คนขี้เกียจและสร้างภาระต่อเศรษฐกิจ (Jensen and Kersbergen,
                      2017) ขณะเดียวกันชนชั้นนำเหล่านี้ได้อาศัยทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่มีในการเข้าไปมีอิทธิพลใน
                      กระบวนการทางการเมืองและการกำหนดนโยบาย เพื่อรักษาสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม

                      ของกลุ่มตน ซึ่งในทางกลับกันจะส่งผลตามมาทำให้ช่องว่างความเหลื่อมล้ำยังคงขยายตัวมากขึ้น


                            ในอีกส่วนหนึ่ง นอกจากบทบาทชนชั้นนำแล้ว บทบาทของชนชั้นกลางก็มีความสำคัญ
                      ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน มีการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่าความเหลื่อมล้ำอาจเป็นผลมาจากการที่ชนชั้นกลาง
                      เลือกที่จะสนับสนุนชนชั้นนำ การตัดสินใจดังกล่าวอาจเป็นผลมาจากการที่ความเหลื่อมล้ำส่งผล

                      ทำให้สถานะทางสังคมของชนชั้นกลางดูดีมากขึ้นในเชิงเปรียบเทียบ หรืออาจจะเป็นผลมาจาก
                      การที่ชนชั้นกลางไม่ประสงค์ที่จะกระจายผลลัพธ์จากการพัฒนาในอนาคตให้กับคนจน (Harms

                      and Zink, 2003) บรังโค มิลาโนวิช (Branko Milanovic) ตั้งข้อสังเกตว่าชนชั้นกลางจะเห็นค่า
                      ประชาธิปไตยก็ต่อเมื่อพวกเขามองว่าประชาธิปไตยสามารถเป็นเครื่องมือในการจำกัดอำนาจของ
                      ชนชั้นนำ และป้องกันคนจนไม่ให้ยึดครองทรัพย์สินหรือความมั่งคั่งที่ตนมีอยู่ อย่างไรก็ตามปัญหา

                      ที่ผู้เขียนพบคือชนชั้นกลางอยู่ภายใต้ภัยคุกคามของความเหลื่อมล้ำ (Milanovic, 2016) ภายใต้
                      บริบทดังกล่าวทำให้พลังของชนชั้นกลางในการผลักดันให้มีการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำจะยิ่ง                เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 3

                      อ่อนด้อยลง
   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189   190