Page 197 - kpi20756
P. 197

1 7
























                                         องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                                       กับการจัดการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ



                                                                                            ไกรยศ ภัทราวาส*




                                     บทนำนี้นำเสนอบทสังเคราะห์การทำงานตลอด 30 ปีที่ผ่านมาของโลกในการ

                             แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ประเทศไทยได้มีบทบาทที่สำคัญอย่างต่อเนื่อง
                           รวมทั้งการสรุปสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในปัจจุบันของโลกและของประเทศ
                          ไทยในมิติต่างๆ ที่สำคัญด้วยข้อมูลสถิติจากองค์การระหว่างประเทศและรายงานการวิเคราะห์

                        ของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาที่ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายสำคัญ 9 กลุ่ม
                      ในการสร้างเสริมความเสมอภาคทางการศึกษาของไทย ในส่วนสุดท้ายของบทนำนี้จะสรุป

                      บทเรียนและประสบการณ์จากความล้มเหลวและความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ
                      ทางการศึกษา เพื่อชี้ให้เห็นบทบาทอันสำคัญยิ่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสร้าง
                      ความเสมอภาคทางการศึกษาที่ยั่งยืนของประเทศไทยตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้าน

                      การศึกษา (SDG4)


                      1. บทบาทของประเทศไทยการจัดการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในเวทีโลก: จาก
                      ปฏิญญาจอมเทียน 1990 และปฏิญญาอาเซียน 2016 สู่เป้าหมาย SDG4 เพื่อขจัด
                      ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาอย่างยั่งยืนภายในปี 2030


                            เมื่อกล่าวถึงความเสมอภาคทางการศึกษา (Equitable Education) หรือ การลดความ
                      เหลื่อมล้ำทางการศึกษา (Education Inequality) ผู้คนทั่วโลกตั้งแต่ผู้นำประเทศ องค์การ

                      ระหว่างประเทศ และท้องถิ่นต่าง ๆ มักกล่าวถึงประเทศไทย คนไทยส่วนใหญ่อาจไม่ทราบถึง




                        *  ดร., ผู้อำนวยการสำนักสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
   192   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202