Page 198 - kpi20756
P. 198

1 8     การประชุมวิชาการ
                    สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
            ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย


                  บทบาทของประเทศไทยในกระบวนการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในระดับนานาชาติอย่าง
                  ต่อเนื่องตลอด 30 ปีที่ผ่านมาที่ได้รับการกล่าวถึงในเวทีนโยบายและเวทีวิชาการระดับนานาชาติ

                  อยู่เสมอ

                       เมื่อปี 2533 ผู้นำประเทศและนักการศึกษาทั่วโลกได้มารวมตัวกันที่หาดจอมเทียน จังหวัด

                  ชลบุรี เพื่อร่วมกันรับรองและลงนามในปฏิญญาจอมเทียนว่าด้วยการศึกษาเพื่อปวงชน (World
                  Declaration on Education for All and Framework for Action to Meet Basic Learning

                  Needs) ที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าถือเป็นปฏิญญาสากลฉบับแรกของโลกที่แสดงให้เห็น
                  ถึงเจตนารมย์อันแรงกล้าของผู้นำเกือบ 200 ประเทศที่ต้องการให้เด็กเยาวชนทุกคนเข้าถึงและ
                  สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาได้ 100 % และเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือในระดับโลก

                  เพื่อการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประเทศไทยโดยมีประเทศไทยได้มีส่วนร่วมในฐานะเจ้าภาพ
                  ในการสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือดังกล่าวนี้ขึ้น ซึ่งมีผลต่อการกำหนดนโยบายลดความเหลื่อมล้ำ

                  ทางการศึกษาให้แก่เด็กเยาวชนทั่วโลก โดยรัฐมีหน้าที่จัดการศึกษาให้แก่ประชาชนโดยไม่เก็บ
                  ค่าใช้จ่ายในระดับประถมศึกษาเป็นอย่างน้อย ที่ผ่านมาชื่อหาดจอมเทียมถูกกล่าวถึงในเวที
                  การศึกษาโลกต่างๆ นับครั้งไม่ถ้วน เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจว่าผู้นำการศึกษาทุกประเทศยังคงมี

                  พันธะสัญญาที่ยังไม่แล้วเสร็จ


                       ในปี 2563 ที่จะถึงนี้ (2020) จึงถือเป็นวาระครบรอบ 30 ปี ปฏิญญาจอมเทียน
                  ที่ประเทศไทยจะสามารถแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการขยายโอกาสทางการศึกษาเพื่อ
                  ปวงชนทั้งในประเทศไทย และความก้าวหน้าระดับนานาชาติ นับตั้งแต่ปฏิญญาจอมเทียน

                  นอกจากนั้น ประเทศไทยยังสามารถใช้วาระครบรอบ 30 ปีนี้ในการแสดงข้อมูลสถิติจากองค์การ
                  ยูเนสโกว่าในปัจจุบันยังมีเด็กเยาวชนอีกมากกว่า 263 ล้านคนทั่วโลกที่ยังขาดโอกาสทาง

                  การศึกษา ทุกประเทศยังมีเวลาอีก 10 ปีสุดท้ายของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา
                  (SDG4) ที่ทั่วโลกได้ให้พันธสัญญาร่วมกันว่าภายในปี 2030 จะร่วมกันจัดการศึกษาให้แก่เด็ก
                  เยาวชนทุกคน 100 % ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพื่อให้เกิดการทำงานด้วยทรัพยากร งบประมาณ

                  และความร่วมมือที่เพียงพอที่จะบรรลุเป้าหมายความเสมอภาคทางการศึกษานี้ได้สำเร็จภายในปี
                  2030


                       นอกจากปฏิญญาจอมเทียนเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ตลอด 3 ปีที่ผ่านมาทั่วโลกก็กลับมากล่าวถึง
                  บทบาทของประเทศไทยอีกครั้งเมื่อปี 2559 เมื่อรัฐบาลไทยในขณะนั้นได้นำเสนอร่าง ปฏิญญา

                  อาเซียน 2016 ว่าด้วยการสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาให้กับเด็กตกหล่น ASEAN
                                                                                                          72
                  Declaration on Strengthening Education for out-of-school Children and Youth (OOSCY)
        เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 4   เห็นถึงความเป็นผู้นำของรัฐบาลไทยในระดับนานาชาติในวาระความเสมอภาคทางการศึกษา
                  ให้แก่ผู้นำอาเซียนทั้ง 10 ประเทศได้ให้ความเห็นชอบร่วมกันและประกาศใช้ ณ กรุงเวียงจันทร์
                  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นอีกหนึ่งในผลงานสำคัญของประเทศไทยที่แสดงให้



                  ปัจจุบันองค์การยูเนสโกและประเทศสมาชิกอาเซียนได้ใช้ปฏิญญาดังกล่าวนี้เป็นกรอบการทำงาน



                        https://asean.org/asean-declaration-on-strengthening-education-for-out-of-school-children-and-
                    72
                  youthooscy/
   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202   203