Page 201 - kpi20756
P. 201
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการดังแสดงในภาพที่ 2 แสดงให้เห็นสถานการณ์ความเหลื่อมล้้าด้านการศึกษาของประเทศ
ไทยในปีการศึกษา 2559
ข้อมูลในปีการศึกษา 2559 ประเทศไทยมีเด็กเยาวชนวัยเรียน (3-17 ปี) นอกระบบการศึกษาและเด็ก
เยาวชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสในระบบการศึกษามากกว่า 3 ล้านคนทั่วประเทศ ซึ่งเป็นนักเรียนกลุ่ม
นี้มีความเสี่ยงสูงที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษาก่อนส้าเร็จการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานอัน
เนื่องมาจากปัญหาความยากจน ความด้อยโอกาสทางสังคม ความพิการ และปัญหาครอบครัว ในด้านคุณภาพทาง
การศึกษา
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาได้น้าบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา
54 มาประกอบการ วิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ความเหลื่อมล้้าด้านการศึกษาไทยในปัจจุบันเพื่อก้าหนด
กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนในการลดความเหลื่อมล้้าทางการศึกษาที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และผ่าน
กระบวนการรับฟังความคิดเห็นคลอบคลุมทั้ง 4 ภูมิภาคทั่วประเทศไทยตามกระบวนการรับฟังความคิดเห็นตาม
มาตรา 77 ทั้งจากหน่วยงานของรัฐ เอกชน ท้องถิ่น และประชาชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงกลุ่มเป้าหมายให้
มีความชัดเจนและสอดคล้องกับสถานการณ์ความเหลื่อมล้้าจริงในพื้นที่ และป้องกันการเลือกกลุ่มเป้าหมายที่
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21 201
ซ้้าซ้อน จากกระบวนการดังกล่าวคณะกรรมการอิสระจึงได้ก้าหนดกลุ่มเป้าหมายในการสร้างความเสมอภาคทาง
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
การศึกษาของประเทศไทยออกเป็น 9 กลุ่มเป้าหมายเป็นรายช่วงวัยดังแสดงตามภาพที่ 2
ภาพที่ 2 สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำด้านโอกาสทางการศึกษาในประเทศไทย
ภาพที่ 2 สถานการณ์ความเหลื่อมล้ าด้านโอกาสทางการศึกษาในประเทศไทย
1. เด็กเล็ก (0-2 ปี) ที่อยู่ในครอบครัวที่มีรายได้ต่ำที่สุดร้อยละ 40 ของประเทศ
(Bottom 40) ซึ่งมีอยู่ประมาณ 770,000 คน
2. เด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย
1) เด็กก่อนวัยเรียนที่ยังไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษาก่อนวัยเรียนซึ่งรัฐธรรมนูญ
กำหนดให้รัฐดำเนินการจัดให้โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายจำนวนประมาณ 230,000 คน
2) เด็กวัยเรียนการศึกษาภาคบังคับนอกระบบการศึกษาจำนวนประมาณ 200,000 คน
3. เด็กเยาวชนยากจนในระบบการศึกษา
1) เด็กก่อนวัยเรียนในโรงเรียนอนุบาลที่อยู่ในครอบครัวยากจนจำนวนประมาณ
610,000 คน
2) นักเรียนยากจนในระบบการศึกษาภาคบังคับทุกสังกัด 1.8 ล้านคน
3) นักเรียนพิการในระบบการศึกษาภาคบังคับจำนวน 340,000 คน
4) นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายหรือ ปวช. ที่มีฐานะยากจนจำนวนประมาณ
360,000 คนในระบบ
4. เยาวชนอายุ 15-17 ปีที่ไม่ศึกษาต่อมัธยมศึกษาตอนปลาย ปวช. หรือ กศน.
หลังสำเร็จการศึกษาภาคบังคับอันเนื่องมาจากปัญหาความยากจน ประมาณ 240,000 คน เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 4