Page 200 - kpi20756
P. 200

200     การประชุมวิชาการ
                    สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
            ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย


                  ที่น่ากังวลไปกว่านั้นคือ ตัวเลขเด็กนอกระบบการศึกษาเริ่มกลับมามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นระหว่าง
                  ปี 2016-2017 อีกครั้ง


                  3. สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำในระบบการศึกษาไทยในปัจจุบัน: การวิเคราะห์ของ
                  คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา


                       จากรายงานการศึกษาระหว่างปี 2560-2562 ของคณะกรรมอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา
                          73
                  (กอปศ.)  ที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นตามรัฐธรรมมนูญมาตรา 261 นำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูล
                  รายบุคคลจากข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกระทรวงมหาดไทย และข้อมูลทะเบียนนักเรียนทุกสังกัด

                  ในระบบการศึกษาที่รวบรวมโดยสำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการดังแสดงในภาพที่ 2 แสดงให้เห็น
                  สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาของประเทศไทยในปีการศึกษา 2559


                       ข้อมูลในปีการศึกษา 2559 ประเทศไทยมีเด็กเยาวชนวัยเรียน (3-17 ปี) นอกระบบ

                  การศึกษาและเด็กเยาวชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสในระบบการศึกษามากกว่า
                  3 ล้านคนทั่วประเทศ ซึ่งเป็นนักเรียนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงสูงที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษาก่อน
                  สำเร็จการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานอันเนื่องมาจากปัญหาความยากจน ความด้อย

                  โอกาสทางสังคม ความพิการ และปัญหาครอบครัว ในด้านคุณภาพทางการศึกษา

                       คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาได้นำบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่ง

                  ราชอาณาจักรไทยมาตรา 54 มาประกอบการ วิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำ
                  ด้านการศึกษาไทยในปัจจุบันเพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนในการลดความเหลื่อมล้ำทาง

                  การศึกษาที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็น
                  คลอบคลุมทั้ง 4 ภูมิภาคทั่วประเทศไทยตามกระบวนการรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 77
                  ทั้งจากหน่วยงานของรัฐ เอกชน ท้องถิ่น และประชาชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุง

                  กลุ่มเป้าหมายให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำจริงในพื้นที่ และ
                  ป้องกันการเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ซ้ำซ้อน จากกระบวนการดังกล่าวคณะกรรมการอิสระจึงได้

                  กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาของประเทศไทยออกเป็น 9 กลุ่ม
                  เป้าหมายเป็นรายช่วงวัยดังแสดงตามภาพที่ 2












        เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 4      73   ปฏิรูปการศึกษาไทย: รายงานของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) (2562)
   195   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205