Page 112 - kpi20858
P. 112

69






                            วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งได้รับการเขียนขึ้นใหม่เมื่อการปฏิสังขรณ์คราวใหญ่เพื่อเตรียม
                                                                        103
                            การฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี ในพุทธศักราช 2475

                              จิตรกรรมในระยะเริ่มต้น  เกิดจาการปรับใช้รูปแบบการสร้างศิลปะตะวันตกที่ช่างชาวไทย
                       ส่วนใหญ่มองเห็นว่าเป็นสิ่งทันสมัย มาแสดงออกในผลงานของตนเอง จนอาจกล่าวได้ว่า ช่างต่าง

                       ละทิ้งขนบดั้งเดิมของสยามที่เคยยึดถือเป็นแนวทางให้ปฏิบัติ  แท้จริงแล้ว  นักวิชาการศิลปะหลาย

                       ท่านมองเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก่อนรัชสมัยรัชกาลที่  7  ซึ่งเป็นระยะเวลาปรับตัวของ
                       ช่างชาวสยาม ดังที่ พิริยะ ไกรฤกษ์ และเผ่าทอง ทองเจือ ได้กล่าวไว้ว่า


                                  ศิลปะสยามตกต ่าลงเมื่อมีการเปิดพระราชอาณาจักร เพื่อรับอารยธรรมตะวันตก ใน

                            รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้เสื่อมลงถึงขีดสุดในรัชสมัยต่อมา คือ
                            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สาเหตุที่ท าให้ศิลปะแนวประเพณีนิยม

                            เสื่อมลงนั้น  ก็เนื่องมาจากนโยบายการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย  และการรับเอาวัฒนธรรม
                            ตะวันตกเข้ามา เพื่อป้องกันประเทศ มิให้ตกเป็นอาณานิคมจึงเป็นที่น่าเสียดายว่าความเป็น

                                                                                       104
                            เอกภาพและเสรีภาพที่รักษาเอาไว้ได้นั้น ถูกแลกด้วยค่านิยมทางประเพณี
                              ในประเด็นนี้สามารถพิจารณาได้ใน  2  กรณี  คือ  หากตัดสินคุณค่าในมุมมองของการ

                       อนุรักษ์และสืบสานศิลปะตามขนบ  จิตรกรรมในสมัยรัชกาลที่  7  นั้นนับว่าเข้าสู่ยุคเสื่อมและตก

                       ต ่าลงอย่างเห็นได้ชัด  ทว่าหากพิจารณาด้วยมุมมองของความเปลี่ยนแปลงในสภาวการณ์ที่ต้อง

                       การน าเสนอความเป็นสากลเพื่อให้เท่าทันต่อสถานการณ์นั้น  นับว่าเป็นก้าวส าคัญที่จะน าพาศิลปะ

                       ของไทยไปสู่ความเป็นสากลในเวลาต่อมา  ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมานี้เป็นสิ่งธรรมดาที่ต้อง
                       เปลี่ยนแปลงไปตามกลไกทางสังคม  ดังที่ศิลป์   พีระศรี  กล่าวว่า  “...ศิลป  นั้นเป็นปฏิกิริยาทาง

                       ธรรมชาติของศิลปินที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเรา คราวใดที่วัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไปมากศิลปก็

                       ย่อมเปลี่ยนตามไปด้วย  ไม่มีประโยชน์อันใดที่จะกล่าวว่าของเก่าหรือของใหม่ดีกว่ากัน  ไม่มีใครมี

                                                                            105
                       อ านาจหยุดยั้งความเจริญหรือความเสื่อมของอารยะธรรมได้...”  ดังนั้นการเกิดขึ้นของศิลปะสมัย
                       ใหม่ของไทย ที่มีแนวโน้มน าเสนอด้วยรูปแบบเหมือนจริง หรือสัจนิยมนั้น จึงเป็นพัฒนาการหนึ่งที่

                       เกิดจากการขานรับศิลปะแบบอย่างตะวันตกเข้ามาพัฒนา  แม้ว่าจะส่งผลกระทบต่อจิตรกรรม





                           103   จุลทัศน์  พยาฆรานนท์,  “จิตรกรรมไทยประเพณีสมัยรัตนโกสินทร์  ,”  ใน  ศิลปกรรมล ้าค่าสมัยรัตนโกสินทร์
                       (กรุงเทพ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2549), 58.

                           104  พิริยะ ไกรฤกษ์ และเผ่าทอง ทองเจือ, ศิลปกรรมหลัง 2475 (กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัย
                       ธรรมศาสตร์, 2525), 23.
                           105  ศิลป์  พีระศรี, ศิลปวิชาการ (กรุงเทพ: มูลนิธิ ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี อนุสรณ์, 2546),139.
   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117