Page 109 - kpi20858
P. 109
66
จากข้อความข้างต้นนั้น แสดงให้เห็นเจตนาดั้งเดิมของการสร้างงานจิตรกรรมที่พระระเบียง
เมื่อครั้งแรกเริ่มว่า ต้องการรักษารูปแบบของภาพดั้งเดิมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัวเอาไว้ ทว่าในทางปฏิบัติกลับมิได้เป็นเช่นนั้น ด้วยเหตุที่แม่กองเกิดมีความต้องการสร้าง
ผลงานจิตรกรรมแนวใหม่ โดยอาศัยวิทยาการความรู้จากศิลปะตะวันตก ดังที่ปรากฏในบันทึกของ
จุลทัศน์ พยาฆรานนท์ ต่อไปอีกถึงมูลเหตุของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการสร้างภาพจิตรกรรมที่
พระระเบียงคด ความว่า
ในคราวที่เขียนซ่อมรูปภาพครั้งนี้ คุณพระเทวาภินิมมิต... ได้จองห้องและรับเขียน
ซ่อมรูปภาพไว้ห้องหนึ่งคือ ห้องที่เขียนรูปภาพตอนฤาษีไถนาหานางสีดา... ได้เขียนร่างผูก
รูปภาพล าดับเรื่องราวขึ้นใหม่ตามความเห็นชอบเห็นงามตามใจตัวเอง โดยทิ้งแบบร่างที่
ถ่ายถอนรูปภาพของคนเก่าเสียทั้งหมด ครั้นพอเขียนลงสีระบายรูปภาพ... พระเทวาฯ เขียน
ระบายรูปภาพด าเนินไปตามแบบและลักษณะของช่างฝรั่งทั้งสิ้น พอการเป็นไปเสียดังนี้
พวกช่างจิตรกรรมที่มาสมัครเขียนซ่อมรูปภาพด้วยกัน ต่างก็เสียน ้าใจ เพราะช่างจิตรกรรม
แต่ละคนก็ล้วนแต่มีความสามารถที่จะเขียนระบาย ท ารูปภาพอย่างฝรั่งได้ด้วยกันอยู่ทั้งนั้น
แต่ที่ไม่เขียนท าเสียแต่ต้น ก็เพราะยอมรับที่จะรักษาแบบอย่างรูปภาพที่เป็นศิลปะประจ า
ชาติให้คงอยู่นั่นเอง จึงยอมท าไปตามข้อตกลง แต่พอท่านแม่กองมาท าลายข้อตกลงเสียเอง
เช่นนี้... ต่างก็ชวนกันล้างลบรูปภาพที่ เขียนระบายก็ไปคนละมาก ๆ ทิ้ง แล้วเขียนร่างระบาย
รูปภาพขึ้นใหม่ ตามอ าเภอใจ เขียนแผลงๆ เดินทางสมัยใหม่ ให้เป็นอย่างฝรั่งดื่นไป...
99
ข้อความข้างต้นแสดงให้เห็นถึงเจตจ านงเริ่มแรกของช่าง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัวถึงการสร้างจิตรกรรมที่พระระเบียงว่า ต้องการจะรักษารูปแบบดั้งเดิมของภาพจิตรกรรม
เมื่อครั้งที่สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเอาไว้ โดยมีการคัดลอกภาพ
ลักษณะดั้งเดิม เพื่อเก็บเอาไว้ใช้เป็นต้นแบบในการวาดภาพลงบนช่องผนังต่าง ๆ ทว่าพระเทวา
ภินิมมิต ผู้ซึ่งเป็นแม่กองกลับน าเสนอภาพจิตรกรรมในฉากพระฤาษีไถนาพบนางสีดา ด้วยรูปแบบ
ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะตะวันตก มีการน าเสนอกล้ามเนื้อ และแสงเงา ท าให้ช่างเขียนท่านอื่นๆ
ต่างพากันลบภาพเพื่อรังสรรค์ผลงานของตนขึ้นใหม่ โดยละทิ้งต้นแบบที่ได้เตรียมเอาไว้จนหมดสิ้น
แต่กลับน าเสนอภาพที่ได้รับเอาอิทธิพลจากศิลปะตะวันตกมาผสมผสาน
ดังนั้นการน าเสนอภาพจิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียงจึงด าเนินไปแบบตะวันตก มีการแสดง
รูปทรงแบบสามมิติ มีแสงเงา และแสดงระยะความตื้นลึกของภาพโดยอาศัยหลักทัศนียวิทยาแบบ
99 เรื่องเดียวกัน.