Page 110 - kpi20858
P. 110

67






                       ตะวันตก  ทว่าเป็นทัศนียวิทยาที่ไม่สมจริงเท่าใดนัก  ทั้งนี้  วิทย์  พิณคันเงิน  ได้กล่าวถึงมูลเหตุของ
                       การปรากฏทัศนียวิทยาในลักษณะดังกล่าวว่า


                                  พระเทวาภินิมมิตท่านพยายามเรียนรู้  Perspective  ของท่านแต่ละอันนะ  เนื่องจาก
                            ท่านเป็นแม่กอง เวลาเขียนปราสาทราชวัง ท่านจะเขียนเป็นองค์ๆ เดิน Perspective ไว้หมด

                            ขึ้นไปหา  horizontal  line  หมดทุกอัน  ทีนี้วาดเป็นองค์ๆ  ไว้นี่  เมื่อคนจะเขียนก็หยิบเอาไป

                                                                        100
                            เขียน มันก็ไม่ไปตีกันวุ่นวายหมด วัดพระแก้วเสียตรงนี้
                              จากข้อความข้างต้น วิทย์ พิณคันเงิน ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับทัศนียวิทยาที่ปรากฏบนภาพ

                       จิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามว่า มีความผิดเพี้ยนไปจากหลักทัศนียวิทยา
                       ที่ถูกต้อง  ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากพระเทวาภินิมมิต  ผู้เป็นแม่กองได้ร่างภาพลายเส้นต้นแบบเป็น

                       รูปอาคารบนกระดาษไว้จ านวนหนึ่ง  จากนั้นช่างท่านอื่นได้น าภาพร่างต้นแบบดังกล่าวไปใช้  โดย

                       น าไปจัดวางองค์ประกอบ ตลอดจนแต่งเสริมเติมรูปทรงอื่นเข้ามาตามความพอใจของช่างแต่ละท่าน

                       ดังนั้นเมื่อมิได้ก าหนดเส้นต่างๆ ให้สอดคล้องกับส่วนประกอบอื่นๆ แต่แรก จึงเป็นเหตุให้เกิดปัญหา

                       ในเรื่องการน าเสนอมุมมองที่บิดเบี้ยวผิดเพี้ยนไม่ถูกต้องตามหลักทัศนียวิทยา

                              ภายใต้แนวทางอิทธิพลตะวันตกที่เกิดขึ้น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

                       นี้  สามารถพบเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ  รูปทรงมนุษย์  ที่มีการแสดงกายวิภาคที่สมจริง

                       มากยิ่งขึ้น ประกอบกับการสร้างมิติใกล้ ไกล และการผลักระยะสิ่งต่างๆ ด้วยขนาดและบรรยากาศ

                       ของสี ดังที่ สันติ เล็กสุขุม ได้กล่าวถึงจิตรกรรมที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตอนหนึ่งว่า

                                  ...นับได้ว่าจิตรกรรมฝาผนังพระระเบียงคด ของพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

                            เป็นตัวอย่างของจิตรกรรมแบบแผนประเพณีไทยรุ่นใหม่  ที่ผสมผสานทั้งความคิดและ
                            กรรมวิธีแสดงออกอย่างตะวันตกเข้าไว้ในเรื่องปรัมปราของไทยได้อย่างแนบเนียน เช่นการ

                            เขียนภาพสถาปัตยกรรมประกอบอยู่ในฉาก  อันมีประตูยอดซึ่งเป็นประตูพระบรมหาราชวัง
                            หรือภาพพระมหาปราสาทในพระบรมหาราชวัง  โดยอาศัยหลักทัศนียวิทยาจากตะวันตก

                                                       101
                            รวมทั้งการระบายสี แสง เงา ด้วย
                              ช่างชาวสยาม  เริ่มรู้จักและน าวิทยาการศิลปะของชาวตะวันตกมาปรับใช้ในผลงานของ

                       ตนตั้งแต่สมัยรัชกาลที่  4  ทว่าความรู้ในเรื่องนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในหมู่ช่างชาวสยามเท่าใดนัก

                       อาจเนื่องจากข้อจ ากัดด้านโอกาสในการได้พบเห็นผลงานศิลปะตะวันตก  ซึ่งจ ากัดอยู่ในวงแคบ




                           100  วิทย์ พิณคันเงิน, สัมภาษณ์, ราชบัณฑิต, 18 ตุลาคม 2561.
                           101  สันติ เล็กสุขุม, “สังเขปศิลปะรัตนโกสินทร์: พระบรมหาราชวัง,” ใน ศิลปกรรมล ้าค่าสมัยรัตนโกสินทร์, 30.
   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115