Page 113 - kpi20858
P. 113
70
ประเพณีของไทยที่ด าเนินรอยตามขนบนิยม แต่ถือได้ว่า คือกระบวนทัศน์รูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นใน
ประวัติศาสตร์ศิลปะของไทย อย่างไรก็ตาม ในทัศนะของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้ให้ข้อคิด
อย่างน่างสนใจว่า แม้จะตื่นตัวต่อความใหม่ที่เข้ามากระทบเพียงใด แต่รากเหง้าของความเป็นไทย
นั้นยังถือเป็นสิ่งส าคัญที่ช่างหรือศิลปินควรตระหนักถึง ดังที่ได้กล่าวตอนหนึ่งว่า
หลังจากต้นพุทธศตวรรษที่ 25 แล้ว จิตรกรรมฝาผนังไทยซึ่งเขียนขึ้นตามแบบดั้งเดิม
ก็เสื่อมลง จะคัดลอกกันไปตามตัวอย่างภาพที่สวยงามที่มีอยู่แต่ก่อน โดยผู้คัดลอกไม่มี
ความเข้าใจในความงาม รูปที่เขียนซ ้าแบบกัน ต่อๆ มาก็ไม่มีชีวิตจิตใจต่อไป ในขณะเดียว
กันศิลปตะวันตกก็ได้แพร่เข้ามาในประเทศไทย และทุกคนก็ตื่นเต้นกับสิ่งแปลกๆ นี้ เพราะเป็น
ของใหม่ เป็นธรรมดาอยู่เองที่ว่าช่างเขียนก็ย่อมจะได้รับอิทธิพลของศิลปแบบตะวันตก ซึ่ง
ค่อนข้างแข็งกระด้างและมีลักษณะคล้ายภาพถ่ายมากกว่าภาพเขียน ด้วยความปรารถนาที่
จะฟื้นฟูจิตรกรรมของไทย และเพื่อจะดัดแปลงให้เป็นของทันสมัย ช่างของเราจึงพยายามที่
จะเลียนแบบศิลปะตะวันตก โดยวาดภาพวัตถุทั้งหลายให้เป็นแบบสามมิติ ...ทั้งในแบบที่มี
ทัศนียวิสัย (perspective) และให้มีปริมาตร (volume) แต่เนื่องจากภาพเขียนของไทยเป็น
ภาพสองมิติ (คือแบนราบ) และมีทัศนียวิสัยเป็นแบบเส้นขนาน (ซึ่งไม่ใช่แบบวิทยาการ)
เพราะฉะนั้นเมื่อช่างเขียนยอมรับเอาคติทางตะวันตกมาใช้ ภาพเขียนของเราก็เลยสูญเสีย
ลักษณะพิเศษโดยเฉพาะของตนเอง กลายเป็นศิลปะครึ่งชาติไป ณ ที่นี้เห็นควรกล่าวไว้ด้วย
ว่าภาพเขียนแบบดั้งเดิมของไทยนั้นเหมาะดีส าหรับใช้เขียนจิตรกรรมฝาผนัง แต่แบบของ
ตะวันตกนั้นเหมาะที่จะใช้เป็นภาพเขียนบนผืนผ้าใบ
106
จากข้อคิดเห็นข้างต้น เมื่อน ามาเปรียบเทียบกับจิตรกรรมที่พระระเบียง วัดพระศรีรัตน
ศาสดาราม สะท้อนให้เห็นถึงความตื่นตัวทางวิทยาการศิลปะจากชาติตะวันตก ซึ่งปรากฏให้เห็น
ในรูปทรงของสิ่งมีชีวิต ทั้งคน และสัตว์ อ้างอิงด้วยหลักกายวิภาค ตลอดจนสิ่งของต่างๆ ที่ล้วน
แสดงปริมาตร สัมพันธ์กับการลงสี แสงเงา ที่ค านึงถึงมวลอย่างมีมิติ อยู่ท่ามกลาง ฉากธรรมชาติ
หรืออาคาร ปราสาท ราชวังต่างๆ มีระยะและมุมมองอันพิสดาร โดยอาศัยหลักทัศนียวิทยา สิ่ง
เหล่านี้ถือเป็นสิ่งใหม่ที่ช่างชาวสยามต่างขานรับ และน ามาปรับใช้ในเบื้องต้น แม้ว่าความเข้าใจใน
ศิลปวิชาการตะวันตกยังไม่เป็นที่แพร่หลาย ทว่าเป็นช่วงเวลาที่ช่างไทยเล็งเห็นความส าคัญที่จะ
ปรับปรุงการแสดงออกของตน ไปสู่การน าเสนอสิ่งใหม่ซึ่งมีความร่วมสมัยกับชาติตะวันตกมากยิ่งขึ้น
จิตรกรรมที่พระระเบียงคดวัดพระศรีรัตนศาสดาราม นับว่ามีความส าคัญอย่างยิ่ง เป็นมรดก
ทางวัฒนธรรมส าคัญที่ยังปรากฏร่องรอยของการผสาน ปรับปรุง และพัฒนาไปตามความเปลี่ยน
106 เรื่องเดียวกัน, 221.