Page 108 - kpi20858
P. 108
65
เกลี่ยและให้อภิเษกกันอีกครั้ง ทั้งสองจึงคืนดีกัน ต่อมาคนธรรพ์มารบกวนฤาษีและโจมตี
เมืองไกยเกษ พระรามจึงให้พระมงกุฎและพระลบไปปราบคนธรรพ์ หลังจากนั้นเมืองต่างๆ
96
ก็รุ่งเรืองสืบมา
ด้านรูปแบบของการน าเสนอ จิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลจากศิลปะตะวันตกอย่างเด่นชัด ทั้งนี้มีนักวิชาการศิลปะหลายท่าน ได้กล่าว
ถึงรูปแบบของการสร้างสรรค์ ดังต่อไปนี้
ภาพเขียนทั้งหมดมีลักษณะประสานกลมกลืนกัน ในรูปแบบจิตรกรรมไทยแบบ
ประเพณีที่ให้ระยะใกล้-ไกล แสดงความลึก มีวรรณะสีส่วนใหญ่คล้ายคลึงกัน เป็นเรื่อง
รามเกียรติ์ที่จิตรกรแต่ละคนสร้างสรรค์ขึ้นจากเนื้อเรื่องตามจินตนาการเฉพาะตน พระเทวา
ภินิมมิต เขียนภาพห้องที่ 1 ตอนพระชนกฤาษีท าพิธีบวงสรวงไถนาพบนางสีดาในผอบ เป็น
ภาพชิ้นส าคัญ ซึ่งให้ความงามอย่างวิจิตรบรรจง รูปตัวภาพแสดงลักษณะเด่นในเรื่องความ
ถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักทางกายวิภาค ใช้แสงและเงาเพื่อให้ปริมาตร มีความเป็นปึกแผ่น
ในมวลหมู่ สีนุ่มนวลอ่อนหวานสอดประสานกลมกลืนกันอย่างสวยงามน่าเพลิดเพลิน แสดง
97
ถึงฝีมือช่างชั้นครูในสมัยนี้
การเขียนภาพจิตรกรรมที่ผนังพระระเบียงครั้งนี้ พระเทวาภินิมมิต (ฉาย เทียมศิลปไชย) ได้
เป็นแม่กอง ออกแบบควบคุมการสร้างจิตรกรรม โดยมีข้อตกลงเรื่องรูปแบบการเขียนว่า ให้ด าเนิน
ตามแบบอย่างจิตรกรรมที่ปรากฏแบบดั้งเดิม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
อ้างจากจากบันทึกของ จุลทัศน์ พยาฆรานนท์ ได้กล่าวถึงแนวทางการเขียนภาพ เอาไว้ดังนี้
...มีท่านผู้ใหญ่ที่เป็นนายช่างจิตรกรรมรุ่นน้องหลวงเจนจิตรยง มีแก่ใจเล่าให้ฟังว่า
เมื่อคราวที่มีการเขียนซ่อมรูปภาพฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ที่พระระเบียง วัดพระศรีรัตนศาสดา
ราม ...ในการนี้พระเทวาภินิมมิต (ฉาย เทียมสินชัย) เป็นแม่กองก ากับการร่างและเขียน
ระบายรูปภาพ การเขียนซ่อมรูปภาพตามเวลาดังกล่าว เขียนท าโดยวิธีถ่ายถอนรูปภาพ
ของเดิมขึ้นให้เหมือนหมดทุกกระบวน แล้วเมื่อจะเขียนให้ลอกแบบที่ถ่ายถอนขึ้นไว้ กลับ
98
เขียนลงให้เหมือนดังเดิม
96 ฐานข้อมูลนามานุกรมวรรณคดีไทย, รามเกียรติ์, เข้าถึงเมื่อ 5 กันยายน 2562, เข้าถึงได้จาก https://
www.sac.or.th/databases/thailitdir/detail.php?meta_id=208
97 กรมศิลปากร, จิตรกรรมกรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี,
2525), 24.
98 จุลทัศน์ พยาฆรานนท์, บันทึก, สมบัติของ สุธิศา อัมพวัน.