Page 111 - kpi20858
P. 111

68






                       เฉพาะบุคคล  เมื่อล่วงถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ถือเป็นช่วงเวลาที่ความรู้
                       และโอกาสในการได้พบเห็นผลงานตะวันตกมีมากขึ้น       ช่างชาวสยามต่างตื่นตัวต่อความงาม

                       รูปแบบใหม่  ซึ่งรับเอามาจากศิลปะตะวันตก  อย่างไรก็ตามเนื่องจากเป็นช่วงเวลาแห่งการเริ่มต้น

                       จึงยังไม่สามารถน าเสนอภาพตามหลักทฤษฎีได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ ดังที่ ดังที่ น. ณ ปากน ้า หรือ

                       ประยูร อุลุชาฎะ ได้กล่าวถึงว่า

                                  เราอย่าลืมว่าวิชาการศิลปะแบบปัจจุบันรุ่งเรืองมาแล้วตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่  14-15

                            ที่เราเรียกว่าสมัยเรอเนอร์ซองค์... ฉะนั้นวิชาที่ลีโอนาโดดาวินชี่ก็ดี เขียนอนาโตมี หรือพวก
                            เปอร์สเป็คตีฟก็ดี  เขาเชี่ยวชาญกันแล้วในยุโรป  ความรู้เหล่านี้ยังมาไม่ถึงเมืองไทย  เริ่มมา

                            เขียนในสมัยรัชกาลที่  7  ที่ระเบียงวัดพระแก้วเขาเริ่มเขียนภาพแบบมองจากข้างบนลงมา
                            แต่เปอร์สเป็คตีฟผิด เพราะไม่ได้เรียนกันมาก ดังนั้นเราจะเห็นว่าเขียนพวกสถาปัตยกรรมก็

                            ดีพวกก าแพงเมืองก็ดี มันบิดเบี้ยวมันไม่ถูกความจริง ที่ไม่ถูกนี่จะไปว่าเขาก็ไม่ได้เพราะ เขา

                                                                      102
                            ไม่ได้เรียนมา เขาก็ได้อารมณ์ไปอย่างหนึ่งเหมือนกัน”
                              การเรียนรู้ศิลปะตะวันตกในขณะนั้นเกิดจากการจดจ า หรือการรับอิทธิพลจากสื่อต่างๆ ที่

                       เผยแพร่ขณะนั้น ความลึกซึ้งด้านวิชาการดังกล่าวยังมิได้ถูกพัฒนาอย่างเต็มที่ เนื่องจากการเข้าถึง

                       แหล่งความรู้และแหล่งข้อมูลที่ลึกซึ้งนั้นยังมีข้อจ ากัดอยู่มาก    เป็นผลท าให้รูปแบบการแสดงออก
                       ของช่างไทยในขณะนั้นอยู่ในภาวะผสมผสานความเป็นไทยกับตะวันตกซึ่งดูขัดเขิน   ไม่สมบูรณ์

                       ทั้งนี้หากพิจารณาตัดสินผลงานจิตรกรรมในสมัยรัชกาลที่ 7 ด้วยกรอบแนวคิดและวิธีการตามขนบ

                       นิยมของไทย  ถือได้ว่าผลงานในระยะนี้แสดงให้เห็นถึงความถดถอยของฝีมืออย่างเห็นได้ชัด  ดังที่

                       จุลทัศน์  พยาฆรานนท์  กล่าวถึงความไม่สมบูรณ์ของการแสดงออกในจิตรกรรมของช่างสยามใน
                       ช่วงเวลาดังกล่าว ความว่า


                                  แผ่นดินที่ 6 และแผ่นดินที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นช่วงเวลาต่อเนื่องกัน 22 ปี...

                            เป็นระยะเวลาไม่สู้นาน แต่ทว่าสังคมในช่วงนี้มีความเปลี่ยนแปรมาก และรวดเร็วกว่าแต่ละ
                            แผ่นดินที่พ้นไป ทั้งนี้ก็ด้วยสื่อลักษณะต่างๆ ดังสิ่งพิมพ์ ภาพถ่าย ภาพยนตร์ วิทยุ เป็นต้น

                            ถูกใช้เป็นทางผ่านวัฒนธรรมตะวันตก และอเมริกาสู่ชาวสยามอย่างต่อเนื่อง และกระทันหัน
                            เกินกว่าชาวสยามจะทันตั้งตัวต้านทานได้พอ  ที่จะคัดสรรหรือปรับใช้ให้เหมาะสมและเป็น

                            ประโยชน์  โดยมิต้องถูกบั่นทอนเอกลักษณ์และสูญสิ้นอัตลักษณ์…  จิตรกรรมไทยประเพณี

                            ในช่วงแผ่นดินที่  7  ลักษณะของงานจิตรกรรมไทยประเพณีอยู่ในภาวะตกต ่าสุด  ประจักษ์
                            พยานที่ควรยกมาเป็นอุทาหรณ์ในที่นี้คือ  ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียงทั้ง 4 ด้านใน




                           102  วิบูลย์ ลี้สุวรรณ, ศิลปะร่วมสมัยจดหมายเหตุ (กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ, 2538), 71.
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116