Page 15 - kpi20863
P. 15
หุ้นที่นครนิวยอร์กล้มในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2472 และส่งผลสะเทือนไปทั่วโลกในเวลาต่อมา เหตุการณ์ใน
ครั้งนั้นมักถูกใช้เป็นค่าอธิบายความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองการปกครอง รวมทั้งสถาปัตยกรรมใน
ประเทศไทยในเวลาต่อมาอย่างง่ายๆ เช่น “สภาพเศรษฐกิจทั่วโลกเสื่อมถอยในทศวรรษที่ 1930 (ราวพ.ศ.
2473) ประชาราษฎรและข้าราชการได้รับความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส จึงเป็นแรงเหนี่ยวไกปืนปฏิวัติลั่นขึ้น
5
ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475” หรือ “ภาวะเศรษฐกิจตกต่่าภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ผนวกกับฐานะ
อันทรุดโทรมของพระคลัง ท่าให้การบริหารบ้านเมืองในรัชกาลนี้ด่าเนินไปด้วยความฝืดเคืองอย่างยิ่ง จนถึงขั้น
ต้องทรงตัดและลดงบประมาณรายจ่ายของประเทศลง จนเหลืออยู่ราวกึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับรัชกาลก่อน
เพราะฉะนั้น สภาพอันอัครฐานอย่างหรูหราของบ้านเมืองจึงยุติลง และกลายเป็นสภาพที่สะท้อนความจ่าเป็น
6
และความประหยัดของบ้านเมืองขึ้นแทนที่”
งานศึกษาของพอพันธ์ อุยยานนท์ (2558) ชี้ให้เห็นว่าอันที่จริงแล้วสภาวะเศรษฐกิจตกต่่าในทศวรรษ
2470 นั้นมีผลต่อระบบเศรษฐกิจไทยค่อนข้างน้อย สินค้าส่งออกส่าคัญคือข้าว ก็ยังคงขายได้อย่างต่อเนื่อง แม้
ราคาจะลดลง แต่ปริมาณการผลิตก็มากขึ้น นอกจากนี้ระบบเศรษฐกิจไทยยังเป็นแบบยังชีพหรือเลี้ยงตนเอง
มิได้พึ่งพาตลาดหรือการลงทุนจากต่างประเทศ จึงไม่ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่่าโดยรุนแรงนัก
7
ส่าหรับหลักฐานร่วมสมัย เช่น รายงานของเซอร์เซซิล ดอร์เมอร์ (Sir Cecil Dormer) เอกอัครราชทูตอังกฤษ
ประจ่ากรุงเทพฯ เมื่อพ.ศ. 2474 ได้กล่าวถึงผลกระทบของสภาวะเศรษฐกิจตกต่่าในสยาม ว่า
“In a year of world-wide financial and economic depression Siam can, at any rate,
claim to have fared better than many more advanced and enlightened countries. The
scarcity of population, if nothing else, has saved her from widespread unemployment.
There have been no popular disturbances, no catastrophes of nature, and the Siamese
peasant, with his easy-going, contented temperament, his modest needs and simple tastes,
has, at least, had as much to eat as in previous years. Those who have felt most the effects
of world conditions in Siam are the foreign element, the Chinese and the European, and, in
a lesser degree, the Siamese official class, particularly in the capital.”
8
อย่างไรก็ดี ท้ายที่สุดแล้วสภาวะเศรษฐกิจตกต่่าก็ส่งผลต่อเศรษฐกิจสยามในบางด้าน ดังสะท้อนใน
ตัวเลขงบประมาณแผ่นดินที่ขาดดุล 3.98 ล้านบาทในพ.ศ. 2474 ก่อนหน้านี้รัฐบาลสยามได้พยายามเพิ่มภาษี
เลิกจ้างข้าราชการชาวต่างประเทศซึ่งมีเงินเดือนและสวัสดิการสูง ยุบรวมหน่วยงานราชการต่างๆ ที่มีหน้าที่
และบทบาทซ้่าซ้อน ตลอดจนลดงบประมาณรายจ่ายเงินเดือนข้าราชการโดยการปลดข้าราชการและลูกจ้าง
ออกเป็นจ่านวนมากในช่วงพ.ศ. 2472 ที่รู้จักกันในนาม “ดุลยภาพ” น่าไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองใน
วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
งานศึกษาของพอพันธ์ อุยยานนท์ (2558) ยังชี้ให้เห็นว่า ในแง่ของประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ช่วง
รัชกาลที่ 7 อาจแบ่งออกได้เป็นสองช่วง คือช่วงพ.ศ. 2468 – 2473 และช่วงพ.ศ. 2474 – 2477 โดยแบ่งตาม
8