Page 38 - kpi20863
P. 38

บทที่ 3

                       พัฒนาการการประกอบวิชาชีพสถาปนิกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว




               3.1 การประกอบวิชาชีพสถาปนิกในช่วงรัชกาลที่ 5
                       รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411 – 2453) เป็นช่วงเวลาอันยาวนานที่

               เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในการประกอบวิชาชีพสถาปนิกในสยาม โดยที่ขณะนั้นสถาปนิกยังเป็นเพียงช่าง

               แขนงหนึ่ง มีหน้าที่ในการออกแบบและด าเนินการควบคุมการก่อสร้างอาคาร ในสมัยที่วิชาชีพสถาปนิกตามค า
               จ ากัดความสมัยใหม่ยังไม่เป็นที่รู้จัก ตามระบบจารีต ช่างอาจแบ่งได้คร่าวๆ เป็นสามกลุ่ม คือช่างหลวง ช่าง

               พระ และช่างเชลยศักดิ์ ช่างหลวงคือข้าราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานออกแบบและควบคุมการก่อสร้างของ

               หลวง ตั้งแต่พระที่นั่งไปจนถึงราชยานคานหามและเรือพระที่นั่ง โดยวิชาความรู้ของช่างหลวงนี้เป็นความรู้
               ชั้นสูงที่สืบทอดกันมาในสกุล เช่น ช่างหลวงในสกุลหงสกุล เกตุทัต และยมาภัย เป็นต้น  ช่างพระคือพระภิกษุ

               ที่มีความรู้ในวิชาช่าง ด้วยพระอารามต่างๆ ก็มีถาวรวัตถุที่ต้องทะนุบ ารุงรักษา ทั้งวัดเองก็เป็นดั่งโรงเรียน

               ส าหรับเด็กชายอยู่แล้วด้วย  ส่วนช่างเชลยศักดิ์ คือช่างที่อยู่นอกระบบราชการ รับจ้างออกแบบและควบคุม
               การก่อสร้างทั่วไป

                       การประกอบวิชาชีพช่างในระบบจารีตนี้เริ่มเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงในช่วงต้นรัชกาลที่ 5 เมื่อ

               พระประมุขและชนชั้นน าสยามเริ่มว่าจ้าง ช่างฝรั่ง มาจากเมืองสิงคโปร์หรือทวีปยุโรป เพื่อท าการออกแบบ
               ก่อสร้างอาคารที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก มีแบบแผนและเครื่องตกแต่งสถาปัตยกรรมที่ถูกต้อง

               ครบถ้วน เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของความ “ศิวิไลซ์” ในสายตาประชาคมโลก  ช่างฝรั่งรุ่นแรกโดยมากเป็นชาวอิ

               ตาเลียน เช่น นายโยอาคิม แกรซี (Joachim Grassi, ภาพที่ 3-01)  นายสเตฟาโน คาร์ดู (Stefano Cardu)
               และนายจูเซ็ปเป แฟร์รันโด (Giuseppe Ferrando) ช่างฝรั่งเหล่านี้ประกอบวิชาชีพในสยามในฐานะ

               ผู้ออกแบบและรับเหมาก่อสร้าง ไม่ปรากฏว่าได้ผ่านการศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมในสถานศึกษาแห่งใด

               สามารถออกแบบ ค านวณราคา และรับเหมาก่อสร้างได้ แม้จะมีผลงานสถาปัตยกรรมจ านวนมากที่สร้างขึ้น
               ในช่วงต้นรัชกาลที่ 5 แต่โดยมากก็เป็นอาคารในรูปแบบสถาปัตยกรรมประวัติศาสตร์นิยม (Historicism) ที่ไม่

               ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ หรือเทคนิควิทยาการก่อสร้างที่ทันสมัยแต่อย่างใด

                       ช่างฝรั่งช่วงต้นรัชกาลที่ 5 ที่มีลักษณะการประกอบวิชาชีพแตกต่างออกไป คือนายจอห์น คลูนิส
               (John Clunis, ภาพที่ 3-02) นายช่างชาวอังกฤษที่รัฐบาลสยามว่าจ้างมาจากเมืองสิงคโปร์ เพื่อมารับราชการ

               ในต าแหน่ง “อากีเต๊กหลวง” รับพระราชทานเงินเดือนดุจเดียวกับช่างหลวงในระบบราชการแบบจารีต

               นายคลูนิสมีหน้าที่หลักในการออกแบบพระที่นั่งและอาคารส าคัญๆ ในพระบรมมหาราชวัง โดยเฉพาะพระที่
               นั่งจักรีมหาปราสาท ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จในพ.ศ. 2425 เป็นอาคารแบบประวัติศาสตร์นิยมในรูปแบบ

               สถาปัตยกรรมอิตาเลียนเรอเนสซองส์ (Italian Renaissance) ทว่ามีเรือนยอดปราสาทแบบไทยประเพณี

               ผลงานของพระยาราชสงคราม (ทัด หงสกุล)


                                                            54
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43