Page 41 - kpi20863
P. 41

จึงทรงเข้ารับราชการกรมศิลปากร กระทรวงวัง ในต าแหน่งนายช่างผู้ค านวณออกแบบ ในพ.ศ. 2462 ทรง

               เลื่อนต าแหน่งเป็นผู้ตรวจการ และได้รับพระราชทานยศเป็นเสวกเอกเมื่อพ.ศ. 2466
                       ในรัชกาลที่ 7 เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบเลิกกรมศิลปากร และตั้งศิลปากรสถาน ราช

               บัณฑิตสภา ขึ้นในพ.ศ. 2469 หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ก็ได้ทรงด ารงต าแหน่งผู้อ านวยการศิลปากรสถาน ได้รับ

               พระราชทานยศเป็นอ ามาตย์เอกในพ.ศ. 2470  ทรงออกจากราชการหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในพ.ศ.
               2475  อย่างไรก็ดี ท่านเป็นหนึ่งในสถาปนิกสยามรุ่นบุกเบิก ที่ได้ร่วมก่อตั้งสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรม

               ราชูปถัมภ์ ขึ้นในพ.ศ. 2477 และในปีเดียวกันนั้นเอง หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ก็ถึงชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 14

                                             5
               กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 ชันษา 46 ปี
                       ผลงานสถาปัตยกรรมของหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์มีจ านวนไม่มากชิ้น แม้จะเป็นอาคารที่ส าคัญ

               ออกแบบและก่อสร้างอย่างประณีต โดยวัสดุก่อสร้างและตกแต่งที่มีราคาสูง โดยมากเป็นงานที่ท าถวาย

               พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศ์ชั้นสูง ได้แก่ ต าหนักใหม่ วังสระปทุม (พ.ศ. 2469)  วังไกล
               กังวล (พ.ศ. 2472) การปรับปรุงหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท (พ.ศ. 2475) เป็นต้น ผลงานของหม่อมเจ้าอิทธิ

               เทพสรรค์จึงมิได้มีอิทธิพลต่อสถาปนิกไทยรุ่นหลังเท่าใดนัก ทั้งนี้ด้วยบริบทของสังคมและวัฒนธรรมไทยที่

               เปลี่ยนแปลงไปหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมาด้วย  อย่างไรก็ดี บทบาทส าคัญ
               ประการหนึ่งของหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ คือการเขียนบทความเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม วิชาชีพสถาปัตยกรรม

               และวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ มั้งบทบรรยาย ปาฐกถา และข้อเขียน ที่มีการตีพิมพ์ในสิ่งพิมพ์ต่างๆ ในช่วง

               ปลายรัชกาลที่ 6 และช่วงรัชกาลที่ 7 เพื่อกระตุ้นให้สังคมสยามเกิดความรู้ความเข้าใจในบทบาท หน้าที่ และ
                                           6
               ความรับผิดชอบของวิชาชีพใหม่นี้


                       3.3.2  พระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์)
                       พระสาโรชรัตนนิมมานก์ นามเดิม สาโรช สุขยางค์ (ภาพที่ 3-07) เกิดเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.

               2438 เป็นบุตรหลวงพัฒนพงษ์ภักดี (ทิม สุขยางค์) ส าเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์และ

               โรงเรียนสวนกุหลาบ ในพ.ศ. 2456 ได้รับทุนกระทรวงธรรมการไปศึกษาวิชา ณ ประเทศอังกฤษ โดยได้เข้า
               ศึกษาชั้นเตรียมที่โรงเรียนเอาน์เดิล (Oundle) ซึ่งมีชื่อเสียงด้านวิชาวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์

               ตามความประสงค์ของกระทรวงธรรมการที่จะให้นายสาโรชกลับมารับราชการเป็นสถาปนิก  ต่อมาในเดือน

               ตุลาคม พ.ศ. 2458 จึงเข้าศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล (University of
               Liverpool) ซึ่งขณะนั้นถือกันว่าดีที่สุดในประเทศอังกฤษ (ภาพที่ 3-09) ได้ฝึกงานตามบริษัทสถาปนิกต่างๆ

               และได้ศึกษา “วิชาสร้างเมือง” (town planning or civic design) อีกด้วย จนส าเร็จการศึกษาวิชา

               สถาปัตยกรรม และประกาศนียบัตรการวางแผนผังเมือง จากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล ในวันที่ 15 มิถุนายน
               พ.ศ. 2463 และเดินทางกลับมายังประเทศไทยในปีเดียวกัน   เข้ารับราชการในกองสถาปนิก กระทรวงธรรม
                                                                7
               การ มีผลงานออกแบบที่ส าคัญในช่วงแรก ได้แก่ อาคารในโรงพยาบาลศิริราช





                                                            57
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46