Page 39 - kpi20863
P. 39

อย่างไรก็ดี การว่าจ้างช่างฝรั่ง และการท างานร่วมระหว่างช่างฝรั่งกับช่างไทยนั้นมีความยากล าบากมา

               ตั้งแต่ต้น ทั้งด้วยวัฒนธรรมการท างานที่ต่างกัน การคอรัปชัน ตลอดจนความรู้ความช านาญที่มีจ ากัด ทั้งฝ่าย
               ช่างฝรั่งและช่างไทย ดังความในหนังสือกราบบังคมทูลของพระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) เสนาบดีกระทรวง

               โยธาธิการ ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 ความว่า

                       “ในกรมโยธา ไม่มีระเบียบอันใดเลย เจ้าพนักงานฝรั่งทุกคนถือตัวว่า เปนผู้ที่รับค าสั่งของเจ้ากรมให้
               เขียนแปลนเท่านั้น เขียนขึ้นแล้วเปนหมดน่าที่ ส่งไปยังเจ้าพนักงานไทยให้ไปก่อสร้างขึ้น  แม้แต่จะท าผิดแบบ

               ในการก่อก็ดี การประสมปูนก็ดี การตัดไม้ก็ดี พวกอินยิเนียว่ากล่าวก็หามีใครท าตามไม่

                       ข้างฝ่ายเจ้าพนักงานชาวไทยก็ได้ยินเต็มหูว่า ความกระเบียดกระเสียนหาก าไรในการก่อสร้างทั้งปวงมี
               อยู่โดยรอบไป  สรรพสิ่งทั้งปวงที่กรมโยธาท าจึงเปนราคาแพงทั้งสิ้น  มีคนใช้เปนอันมาก แต่จะขอให้วาดเขียน

               คิดอะไรแต่ละอย่างดูช้าเหลือเกิน  มีพวกที่ใช้เซอรเวบางคน การที่ท าเซอรเวนั้นก็ไม่น่าเชื่อว่าถูกต้องได้  คิด

               เลขง่ายๆ ไม่ถูก  แก้ระดับกล้องก็ไม่เปน แต่ก็นับว่าเปนพนักงานเซฮร์เวอยู่เสมอ ถ้าจะให้ไว้วางใจได้บ้าง จ า
               จ าต้องให้คนเหล่านี้ตั้งต้นเรียนเสียใหม่

                       อาคิตเต๊กฝรั่งที่ท าพระที่นั่งอัมภรณ์นั้น เมื่อได้ดูการก่อสร้างที่ท าขึ้นแล้วก็เหนได้ชัดว่าเปนแต่นักเรียน

               ซึ่งพอสอบไล่ได้แล้วก็ออกมาท าการเมืองไทย  รู้แต่ต าราที่ไล่สอบแต่ความละเอียดในช่างปูนช่างไม้เปนต้นยัง
               หาพอไม่  มาได้ความช านาญจากจีนช่างไม้ช่างปูนในกรุงเทพฯ นี่เอง  มีที่ติได้หลายอย่าง จนที่สุดแม้แต่บรรใด

               ส าคัญในพระที่นั่งนั้นก็ท าไม่ถูก จะแก้ก็ไม่ทันเสียแล้ว

                       มิศเตร์อาเลกรีเปนผู้บังคับพวกฝรั่ง มีวิชาเปนอินยิเนียอย่างเดียว อาคิเต๊กฝรั่งท าผิดคงรู้ไม่เท่าถึง เหน
                                                                                                     1
               ได้ว่าคนพวกนี้ ไม่ได้เคยสังเกตเลยว่าการละเอียดเช่นถือปูนเข้าไม้ในยุโรปนั้น บ้านดีๆ เขาท ากันอย่างไร”
                       ในครั้งนั้นพระยาสุริยานุวัตรได้จัดให้จัดการแบ่งหน้าที่ราชการใหม่ มีกองบัญชาการขึ้นต่อเจ้ากรม

               กองอินเยอรเนีย (Engineering Section) และกองอาคิเต๊ก (Architectural Section)  สองกองหลังนี้รวม
               เรียกว่า เวรก่อสร้างฝ่ายฝรั่ง แยกจากเวรก่อสร้างฝ่ายไทย ซึ่ง “มีน่าที่ท าการที่เปนฝีมือช่างไทย เช่นการท าแล

                                                                                                   2
               ซ่อมแซมพระอารามต่างๆ แลการสร้างพระเมรุแลพลับพลาซึ่งต้องการฝีมือช่างไทยโดยเฉภาะเปนต้น”
               ตลอดจนเงินเดือนและสวัสดิการที่ช่างฝรั่งได้รับ ซึ่งเป็นภาระงบประมาณกับทางราชการมาก


               3.2 ความเปลี่ยนแปลงในรัชกาลที่ 6

                       ในช่วงต้นรัชกาลที่ 6 มีการปรับโครงสร้างหน่วยงานรัฐที่ดูแลการช่างและการก่อสร้างที่ส าคัญ คือการ
               ยุบเลิกกรมโยธา กระทรวงโยธาธิการในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2451 โดยโปรดเกล้าฯ ให้แยกตัวช่าง คือสถาปนิก

               และวิศวกร ออกเป็นสองกลุ่ม โดย “ให้แยกพแนกการช่างก่อสร้างส่วนหนึ่งมาบวกอยู่ในกรมศุขาภิบาล

               กระทรวงนครบาล  แยกการช่างที่เปนประณีตศิลปไว้ส่วนหนึ่ง  แลให้ยกกรมพิพิธภัณฑ์จากกระทรวงธรรมการ
               มารวมกันตั้งขึ้นเปนกรมศิลปากร มีผู้บัญชาการกรมขึ้นตรงต่อพระเจ้าแผ่นดิน จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

                                                                                                       3
               ให้ผู้ใดในกระทรวงใดฤๅกรมใดเปนผู้บัญชาการเมื่อใดก็ได้ แล้วแต่จะทรงพระราชด าริห์เห็นเหมาะกับบุคคล”
               นับแต่นั้นมา ช่างและการช่างที่รัชกาลที่ 5 พยายามรวมศูนย์ไว้ที่กระทรวงโยธาธิการ ก็กลับกระจายไปตาม


                                                            55
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44