Page 40 - kpi20863
P. 40

หน่วยงานอีกครั้งหนึ่ง เช่นในพ.ศ. 2456 มีช่างฝรั่งรับราชการในต าแหน่งสถาปนิกอยู่ที่กรมพระคลังข้างที่ 1

               นาย คือนายเอส. จี. เปโรเลรี (S. G. Peyroleri)  ที่กองช่าง กรมศิลปากร 1 นาย คือนายแอร์โกเล มันเฟรดี
               (Ercole Manfredi, ภาพที่ 3-03)  ที่กรมศุขาภิบาล กระทรวงนครบาล 6 นาย คือนายมาริโอ ตามานโญ

               (Mario Tamagno, ภาพที่ 3-04) นายกุสตาโว ซัลวาโตเร (Gustavo Salvatore) นายออสการ์ ตาเวลลา

               (Oscar Tavella) นายอัลเฟรโด ริกัซซิ (Alfredo Rigazzi) นายบี. โมเรสกี (B. Moreschi) นายซี กวาเดรลลี
                                                                  4
               (C. Quadrelli) และนายปิแอร์ ลิกองเนต์ (Pierre Ligonnet)
                       ในรัชกาลที่ 6 นี้เอง ที่รัฐบาลสยามเริ่มตระหนักถึงความจ าเป็นที่จะต้องมี “สถาปนิกสยาม” คือ

               สถาปนิกชาวไทยที่ได้รับการศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ตามมาตรฐานตะวันตก เพื่อค่อยๆ ทดแทนการ
               ว่าจ้างช่างฝรั่ง ซึ่งแม้จะมีผลงานเป็นที่น่าพอใจ แต่ก็เป็นภาระงบประมาณแผ่นดินมากมาย โดยเฉพาะ

               เงินเดือน ค่าเดินทาง ค่าเช่าบ้าน การลาพักร้อนโดยได้รับเงินเดือนเต็ม บ าเหน็จบ านาญ ตลอดจนสวัสดิการ

               ต่างๆ ดังปรากฏว่ารัชกาลที่ 6 ทรงรับหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร (ภาพที่ 3-05) และหม่อมเจ้าสมัย
               เฉลิม กฤดากร (ภาพที่ 3-06) เป็นนักเรียนทุนส่วนพระองค์ เพื่อทรงศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่สถาบัน

               เอโกล เดส์ โบซาร์ต (Ecole des Beaux-Arts) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส  ส่วนทางรัฐบาลนั้น ในพ.ศ. 2456

               กระทรวงธรรมการได้ส่งนายสาโรช สุขยางค์ (พระสาโรชรัตนนิมมานก์, ภาพที่ 3-07) เป็นนักเรียนทุนของ
               กระทรวงไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ ตามมาด้วยการส่งนายนารถ โพธิประสาท (ภาพที่ 3-08) เป็นนักเรียน

               ทุนในลักษณะเดียวกันในพ.ศ. 2462 โดยมีความประสงค์ที่จะให้ทั้งสองคนกลับมาเป็นสถาปนิกประจ า

               กระทรวงธรรมการ และจัดการวางแผนการศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ในสยามต่อไปด้วยอีกโสดหนึ่ง  ใน
               รัชกาลที่ 7 “นักเรียนนอก” อย่างหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร และพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุข

               ยางค์) จึงมีบทบาทส าคัญในฐานะ “สถาปนิกสยาม” รุ่นแรกที่เริ่มท างานออกแบบสถาปัตยกรรม เคียงบ่าเคียง

               ไหล่กับ “ช่างฝรั่ง” ที่เริ่มลดบทบาทลงโดยล าดับ


               3.3 “สถาปนิกสยาม” รุ่นแรก

                       ด้วยบริบททางการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่กล่าวมา การศึกษาความเปลี่ยนแปลงใน
               สถาปัตยกรรมช่วงรัชกาลที่ 7 ย่อมต้องเข้าใจประวัติและการประกอบวิชาชีพของสถาปนิก ผู้ออกแบบอาคาร

               ส าคัญๆ ในช่วงรัชสมัยนั้น ได้แก่ หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร พระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์)

               และนายนารถ โพธิประสาท


                       3.3.1 หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร

                       หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร (ภาพที่ 3-05) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ
               นเรศรวรฤทธิ์ ประสูติแต่หม่อมสุภาพ เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2432 ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนราชวิทยาลัย

               และโรงเรียนนายร้อยทหารบก หลังจากนั้นเสด็จไปศึกษาต่อที่โรงเรียนแฮโรว์ (Harrow) ที่ประเทศอังกฤษ

               จากนั้นทรงศึกษาที่โรงเรียนศิลปากร (Ecole des Beaux-Arts) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จนพ.ศ. 2459


                                                            56
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45