Page 42 - kpi20863
P. 42
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 พระสาโรชรัตนนิมมานก์มีบทบาทอย่างมากในวง
วิชาชีพสถาปัตยกรรม โดยได้เป็นผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ด ารงต าแหน่ง
นายกสมาคมคนแรก เมื่อพ.ศ. 2477 และต่อมาเมื่อทางการได้โอนงานก่อสร้างมารวมกันในกรมศิลปากร
กระทรวงศึกษาธิการ พระสาโรชรัตนนิมมานก์ก็ได้ด ารงต าแหน่งหัวหน้ากองสถาปัตยกรรม มีบทบาทในการ
ออกแบบอาคารจ านวนมากของทางราชการ โดยเฉพาะในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ผลงานส าคัญ
ได้แก่ ตึกเคมี 1 และหอประชุม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปรษณีย์กลาง ศาลากลางจังหวัด
พระนครศรีอยุธยา ศาลาไทยในงานเอกซ์โปที่นครนิวยอร์ค สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ เป็นต้น
ในช่วงปลายสงครามมหาเอเชียบูรพา พระสาโรชรัตนนิมมานก์ถูกส่งไปควบคุมการก่อสร้างเมืองหลวง
ใหม่ที่เพชรบูรณ์ ท าให้สุขภาพทรุดโทรมลงมาก จนเมื่อสงครามยุติ และจอมพล ป. พิบูลสงครามพ้นจาก
อ านาจไปแล้ว ในพ.ศ. 2491 พระสาโรชรัตนนิมมานก์ได้ลาออกจากราชการ คงเป็นอาจารย์พิเศษที่คณะ
สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่สุขภาพก็เสื่อมลงโดยล าดับ จนถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 4
เมษายน พ.ศ. 2493 สิริอายุได้ 55 ปี
3.3.3 หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร
หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร (ภาพที่ 3-06) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวร
ฤทธิ์ ประสูติแต่หม่อมแช่ม เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2438 ซึ่งตรงกับวันเฉลิมพระชนพรรษาของ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปี
หลวงจึงพระราชทานนามว่า สมัยเฉลิม ในพ.ศ. 2448 ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนราชวิทยาลัย และต่อมาได้ไป
ทรงศึกาต่อ ณ ทวีปยุโรป ที่ประเทศฝรั่งเศสและสวิตเซอร์แลนด์ จนถึงรัชกาลที่ 6 ในพ.ศ. 2456 ทรงเข้าศึกษา
วิชาสถาปัตยกรรมที่สถาบันเอโกล เดส์ โบซาร์ต (École des Beaux-Arts กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส) โดย
เป็นนักเรียนทุนส่วนพระองค์ในรัชกาลที่ 6 ทรงศึกษาอยู่ที่กรุงปารีสเป็นเวลาถึง 9 ปี
ในรัชกาลที่ 7 ในพ.ศ. 2471 ทรงเข้ารับราชการในต าแหน่งนายช่าง แผนกศิลปากรสถาน ราช
บัณฑิตยสภา และในปีต่อมาทรงย้ายมารับต าแหน่งนายช่างใหญ่ กรมวังนอก กระทรวงวัง ต่อมาในพ.ศ. 2478
ทรงย้ายมารับต าแหน่งสถาปนิกที่กองสถาปัตยกรรม กระทรวงธรรมการ และเลื่อนเป็นหัวหน้าแผนกออกแบบ
กองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ในพ.ศ. 2483 ในพ.ศ. 2493 ทรงด ารงต าแหน่ง
สถาปนิกชั้นพิเศษ กรมศิลปากร จนออกจากราชการเมื่อปีพ.ศ. 2501
นอกจากการรับราชการต าแหน่งสถาปนิกดังที่กล่าวมาแล้วนั้น หม่อมเจ้าสมัยเฉลิมยังได้รับแต่งตั้งเป็น
คณบดี คณะประติมากรรม มหาวิทยาศิลปากร ในช่วงพ.ศ. 2487 - 2493 และได้ไปสอนวิชาสถาปัตยกรรมที่
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในต าแหน่งอาจารย์พิเศษ และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมสถาปนิกสยาม ในพ.ศ. 2476
โดยด ารงต าแหน่งกรรมการสมาคมฯ ร่วมกับผู้ริเริ่มอีก 6 ท่าน ในพ.ศ. 2477 เมื่อออกจากราชการแล้วได้รับ
แต่งตั้งให้ด ารงต าแหน่งคณบดี คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในช่วงพ.ศ. 2501 - พ.ศ. 2505
58