Page 33 - kpi20863
P. 33

รูปทรงและปริมาตรเป็นกล่องเรียบ (cubic form) ตลอดจนมวล (mass) ปริมาตร (volume) และพื้นที่ว่าง

               (space) ที่เลื่อนไหล มีที่มาจากประโยชน์ใช้สอย แยกแยะให้เห็นความแตกต่างระหว่างพื้นที่ใช้สอย
               (functional space) กับพื้นที่สัญจร (circulation) ตลอดจนความแตกต่างระหว่างโครงสร้างกับผนัง (free

               façade) และความต่อเนื่องของพื้นที่ห้องต่างๆ (open plan) ที่มีพลวัตอย่างงานศิลปะสมัยใหม่ ต่างไปจาก

               การใช้แนวแกน ล่าดับศักดิ์ของพื้นที่ ตลอดจนตาตะรางที่ก่ากับผังอาคารอย่างสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิค
                       ในช่วงทศวรรษที่ 1920 เลอ คอร์บูซิเอร์ได้ทดลองออกแบบอาคารพักอาศัยจ่านวนมาก พร้อมกับ

               ตีพิมพ์งานเขียนเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมและการผังเมืองสมัยใหม่ที่ทรงอิทธิพลยิ่ง ขณะที่วอลเตอร์ โก

               รเปียสก็ได้เปิดโรงเรียนศิลปะ สถาปัตยกรรม และการออกแบบ ในนาม เบาเฮาส์ (Bauhaus) ที่มีชื่อเสียงเป็น
               อย่างมาก ทั้งในด้านหลักสูตร ปรัชญาการศึกษา และตัวอาคารเรียน ซึ่งออกแบบตามหลักการของ

               สถาปัตยกรรมสมัยใหม่โดยโกรเปียสเอง แนวทางสถาปัตยกรรมสมัยใหม่จึงทรงอิทธิพลในระดับที่ลึกกว่า

               รูปแบบ (style) อย่างอาร์ต นูโว หรืออาร์ต เดโค และในพ.ศ. 2474 พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ (Museum of
               Modern Art) แห่งนครนิวยอร์คก็ได้จัดนิทรรศการ “Modern Architecture: International Exhibition”

               ขึ้น รวบรวมข้อมูลผลงานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่ก่าลังทวีอิทธิพลขึ้นทั่วโลก นับเป็นครั้งแรกที่สถาปัตยกรรม

               สมัยใหม่ได้กลายเป็นแนวทาง (movement) ที่มีรูปแบบ (style) อย่างชัดเจน


               2.4 สรุป

                       ช่วงรัชกาลที่ 7 เป็นรัชสมัยที่สั้นเพียงเจ็ดปีเศษ แต่ก็เป็นเจ็ดปีที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อส่าคัญที่สยามเข้าสู่
               สภาวะสมัยใหม่อย่างค่อนข้างสมบูรณ์ อันเป็นผลจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอก ตลอดจนแนวทางในการ

               พัฒนาพระราชอาณาจักรสยามของรัชกาลก่อนหน้า ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 6  ดังปรากฏในพัฒนาการ

               ทางสถาปัตยกรรมในประเทศไทยที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ตลอดทั้งสามรัชกาลดังกล่าวนั้น
                       ในด้านเศรษฐกิจ สถิติการน่าเข้าวัสดุก่อสร้างและการบริโภค และงานศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ

               ใหม่ๆ ชี้ให้เห็นว่าช่วงต้นรัชกาล (พ.ศ. 2468 - พ.ศ. 2473) เป็นช่วงที่รัฐบาลพยายามปรับงบดุลให้คืนสู่

               เสถียรภาพ ส่วนช่วงปลายรัชกาล (พ.ศ. 2474 - พ.ศ. 2477) เป็นช่วงสภาวะเศรษฐกิจตกต่่าทั่วโลก โดยที่
               รัฐบาลได้รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไว้ได้ดี สภาวะเศรษฐกิจตกต่่าจึงมีผลกระทบต่อประชาชนทั่วไปน้อย

               เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลานี้เองก็เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ความคิด

               ความรู้เรื่องการเมืองการปกครอง ที่ส่งผลมาสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองในพ.ศ. 2475 ความเปลี่ยนแปลงนี้
               เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีมาตั้งแต่รัชกาลก่อน จ่านวนประชากรที่หนาแน่นมาก

               ขึ้นในเขตเมือง การพัฒนาด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ คมนาคมสมัยใหม่ ปัจจัยเหล่านี้เป็นบริบทให้แก่

               สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงรัชกาลที่ 7 ดังปรากฏหลักฐานในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐ อาคาร
               อุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน ตลาด ฯลฯ ที่ก่อสร้างด้วยวัสดุสมัยใหม่ เทคนิควิทยาการก่อสร้างสมัยใหม่

               จึงมีรูปลักษณ์สถาปัตยกรรมที่เรียบ เน้นสัจจะของวัสดุและโครงสร้าง ประโยชน์ใช้สอยของอาคาร มาตั้งแต่

               ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 แล้ว  อย่างไรก็ดี อีกด้านหนึ่งของการพัฒนาให้ทันสมัยนั้นก็คือ


                                                            26
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38