Page 44 - kpi20863
P. 44

3.4 ช่างฝรั่งรุ่นสุดท้าย

                       นอกเหนือจาก “สถาปนิกสยาม” รุ่นแรกที่กล่าวมา ช่วงรัชกาลที่ 7 ก็ยังปรากฏอิทธิพลของสถาปนิก
               ชาวตะวันตกอยู่มาก ด้วยเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมในสยาม ด้วยเป็นช่วงที่

               สถาปนิกชาวไทยที่ได้รับการศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์จากสถาบันการศึกษาในประเทศอังกฤษและ

               ฝรั่งเศสในช่วงปลายรัชกาลที่ 6 ต่อเนื่องถึงต้นรัชกาลที่ 7 เริ่มทดแทนช่างฝรั่งที่รับราชการในสยามมาตั้งแต่
               ปลายรัชกาลที่ 5  ทั้งนี้ในหมู่ช่างฝรั่งเองก็เกิดความเปลี่ยนแปลงในตัวบุคลากร กล่าวคือช่างฝรั่งชาวอิตาเลียน

               ในกรมโยธาธิการรุ่นแรก อย่างนายมาริโอ ตามานโญ (Mario Tamagno) นายคาร์โล อัลเลกรี (Carlo Allegri)

               นายเอมิลิโอ โจวันนี กอลโล (Emilio Giovanni Gollo) ต่างก็เกษียณอายุราชการไปในช่วงรัชกาลที่ 6 แม้จะมี
               สถาปนิกชาวอิตาเลียนรุ่นหลังเข้ารับราชการสืบต่อมา อย่างนายแอร์โกเล มันเฟรดี (Ercole Manfredi) หรือ

               นายเอมิลิโอ ฟอร์โน (Emilio Forno) ช่างรุ่นนี้ก็เริ่มลดบทบาทลงทีละน้อย โดยเฉพาะเมื่อรัชกาลที่ 7 โปรด

               เกล้าฯ ให้เลิกจ้างข้าราชการชาวต่างประเทศในพ.ศ. 2472 เพื่อให้งบประมาณแผ่นดินเข้าสู่ดุลยภาพ ตลอดจน
               การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระบบราชการในรัชสมัย ท าให้ในรัชกาลที่ 7 ก็ยังคงมีช่างฝรั่งอยู่ตามหน่วยงาน

               ราชการต่างๆ เช่น นายเฟาสโต ปิสโตโน (Fausto Pistono) หรือนายชาลส์ เบเกอแลง (Charles A.

               Béguelin)  นอกจากนี้ยังมีสถาปนิกฝรั่งที่เปิดส านักงานออกแบบเอกชนอย่างนายเอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์ (Edward
               Healey) อีกด้วย



                       3.4.1 นายเฟาสโต ปิสโตโน (Fausto Pistono)
                       นายเฟาสโต ปิสโตโน (Fausto Pistono) เกิดเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2430 ที่เมืองริวาโรโล คา

               นาเวเซ (Rivarolo Canavese) นอกเมืองตุริน (Turin) ประเทศอิตาลี  เดินทางมายังสยามในช่วงรัชกาลที่ 6

               และได้รับราชการเป็นนายช่างที่กรมพระคลังข้างที่จนรู้ภาษาไทยเป็นอย่างดี  ต่อมาได้ส าเร็จการศึกษาวิชา
               สถาปัตยกรรมที่ราชวิทยาลัยศิลปอัลแบร์ตินา (Accademia Albertina di Belle Arti, ภาพที่ 3-13) ที่ตุริน

               เมื่อพ.ศ. 2465  และได้กลับเข้ารับราชการเป็นสถาปนิกให้กับรัฐบาลสยามในสังกัดกรมช่างสุขาภิบาล

               กระทรวงมหาดไทย จนถึงสิ้นรัชกาลที่ 6 ต่อมาในรัชกาลที่ 7 ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2468 โปรดเกล้าฯ ให้
               เลิกเวรแบบอย่าง (Building Section) กรมช่างสุขาภิบาล กระทรวงมหาดไทย และให้เลิกจ้างช่างฝรั่งหลาย

               นาย นายปิสโตโนได้ย้ายไปท างานที่กรมช่างนคราทร (City Engineer’s Office) จนถึงราวพ.ศ. 2490 จึง

               เกษียณอายุราชการ รวมเวลาที่รับราชการอยู่ในสยามถึง 24 ปี และได้เดินทางกลับไปใช้ชีวิตบั้นปลายที่
                                        8
               ประเทศอิตาลีในปีเดียวกันนั้น


                       3.4.2 นายชาลส์ เบเกอแลง (Charles A. Béguelin)
                       นายชาลส์ เบเกอแลง (Charles A. Béguelin) เป็นสถาปนิกชาวสวิส เกิดเมื่อพ.ศ. 2431 ที่เมืองตรา

               เมอลอง (Tramelan) ส าเร็จการศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเทคนิค นครมิวนิค

               (Technische Universität München) ประเทศเยอรมนี  ในพ.ศ. 2460 นายเบเกอแลงเดินทางมาสู่สยาม


                                                            60
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49