Page 77 - kpi20863
P. 77

4.3.6 วังวาริชเวสม์

                       วังวาริชเวสม์  เป็นวังที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร พระราชธิดาใน
               รัชกาลที่ 5 และเจ้าจอมมารดาพร้อม ธิดาพระยาพิษณุโลกาธิบดี (บัว) ตั้งอยู่ที่ริมคลองสามเสนฝั่งใต้ มีทางเข้า

               จากถนนสุโขทัย  พระองค์เจ้าวาปีบุษบากรโปรดให้สร้างวังนี้ขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีพระ

               สาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์) เป็นสถาปนิก การก่อสร้างแล้วเสร็จ มีพิธีขึ้นต าหนักใหม่ในเดือน
               มกราคม พ.ศ. 2476 (ภาพที่ 4-69 และ 4-70)

                       ต าหนักวังวาริชเวศม์ เป็นอาคารโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กสูงสองชั้น ลักษณะสถาปัตยกรรม

               แบบนีโอคลาสสิคผสมสถาปัตยกรรมสมัยใหม่  ชั้นล่างด้านทิศใต้เป็นมุขที่เทียบรถพระที่นั่ง มีโถงทางเข้า
               บันได และห้องรับรองหลัก ทางทิศตะวันออกมีเฉลียงใหญ่ เปิดโล่งสองด้าน ใช้เป็นที่ประทับทรงสบายและทรง

               รับรอง  ชั้นบนมีห้องบรรทมและห้องอื่นๆ  เน้นมุขด้านทิศใต้และทิศตะวันออกด้วยหน้าจั่วสูง ผนังหน้าบันท า

               เป็นซุ้มโค้งซ้อนเป็นชั้นๆ  ผนังบางส่วนฉาบปูนท าผิวให้ดูนูนสูงๆ ต่ าๆ คล้ายผนังที่ก่อด้วยหินแม่น้ า  พื้นเฉลียง
               และโถงทางเข้าปูกระเบื้องหินขัด ท าลวยลายเรขาคณิตอย่างศิลปะอาร์ต เดโค (Art Deco)  ส่วนฝ้าเพดานสี

               ขาว เดินคิ้วไม้สีน้ าตาลเข้มเป็นลวดลายต่างๆ ไม่ซ้ ากัน


                       4.3.7 ต าหนักทิพย์

                       ต าหนักทิพย์ เป็นต าหนักที่ประทับที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา โปรดให้สร้างขึ้น

               ที่ริมถนนราชวิถี ในบริเวณสวนนอก ทางทิศเหนือของพระราชวังดุสิต หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน
               พ.ศ. 2475 “จึงโปรดให้สถาปนิกเริ่มเขียนแบบแปลนพระต าหนักใหม่ ได้ทรงเลือกนายฮีลลี่ (Healy) สถาปนิก

               ชาวตะวันตกที่ก าลังมีชื่อเสียงอยู่ในประเทศไทย เป็นผู้ออกแบบพระต าหนัก . . . นายฮีลลี่สถาปนิกเอกผู้นี้มี

               ผู้ช่วยชื่อนายเกเนีย ซึ่งเป็นชาวตะวันตกเช่นกัน หากพูดภาษาไทยได้คล่องแคล่ว เสด็จพระองค์อาทรฯ จึงทรง
               สื่อภาพต าหนักที่ต้องพระประสงค์ให้นายเกเนียฟังว่าโปรดให้มีลักษณะเหมือนบ้านมนังคศิลาของพระยาอุดม

               ราชภักดี (โถ สุจริตกุล)  แต่แทนที่จะมีสองปีกให้ตัดทอนออกเหลือไว้เพียงปีกเดียวและไม่จ าเป็นต้องมีห้อง

                                                                                 43
               มากมายนัก ทรงให้เหตุผลว่า “ฉันตัวคนเดียว ไม่รู้จะสร้างบ้านใหญ่โตไปท าไม””
                       ต าหนักทิพย์เริ่มต้นก่อสร้างในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 ราคาค่าก่อสร้างและตกแต่งภายใน

               ประมาณ 60,000 บาท  (ภาพที่ 4-71 และ 4-72) ตัวต าหนักเป็นอาคารโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก สูงสอง

               ชั้น มีผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มุงหลังคาปั้นหยาผืนใหญ่ มีมุขรอบตัวอาคาร ด้านหน้าท ามุขที่เทียบรถที่
               นั่ง ห้องมุขชั้นบนเป็นห้องพระและพระบรมอัฐิ ตกแต่งผนังเป็นพิเศษด้วยผนังแบบครึ่งไม้ครึ่งปูน (half-

               timber) มุงหลังคาปั้นหยาผสมจั่ว ด้านข้างต าหนักด้านหนึ่งท ามุขเฉลียงครึ่งวงกลม มีเสากลมรองรับระเบียง

               ชั้นบน ตอนล่างท าเป็นขั้นบันไดลงมาสู่สนามข้างต าหนัก อีกด้านหนึ่งท าเป็นมุขชั้นเดียว ยื่นยาวออกมาจากตัว
               อาคาร ด้านบนท าหลังคาปั้นหยาผสมจั่ว  ส่วนด้านหลังต าหนักท าเฉลียงใหญ่ ยาวเท่าตัวต าหนัก เฉลียงชั้นบน

               ท าร้านต้นไม้โปร่งคลุม  ต าหนักทิพย์มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบทิวดอร์ (Tudor) ประยุกต์ให้เข้ากับสภาพ

               ภูมิอากาศ ตลอดจนแบบแผนชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสยาม การท าหลังคาผืนใหญ่ ชายคายื่นยาว ปรับองศา


                                                           106
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82