Page 76 - kpi20863
P. 76

ขึ้นไปชั้นสองของอาคาร หลังคาจั่วไม้สองตับ มีกันสาดรอบ รองรับด้วยคันทวยคอนกรีต มุงกระเบื้องเกล็ดเต่า

               แบบไทย ลดมุขด้านตะวันออกและด้านตะวันตก ที่หน้าบันประดับตราจักรกระบอง อันเป็นตราประจ า
               พระองค์ในสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ  ตัวอาคารมีการตกแต่งไม่มาก เน้นมุมอาคารและ

               แนวเสาด้วยเสาเก็จ (pilaster) ย่อมุมสูงสองชั้น ตัดกับเส้นลวดบัวที่ฐานอาคาร ช่องเปิดประตูหน้าต่างเป็นช่อง

               สี่เหลี่ยมเรียบๆ เน้นมุขโถงทางเข้าเป็นพิเศษด้วยเสาย่อมุม ที่ยอดตกแต่งเป็นหัวเม็ด มีลูกมะหวดราวกันตก
               แบบไทยประยุกต์  อนึ่ง ในพ.ศ. 2496 พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์เสด็จทอดพระเนตรกิจการของมหาวิทยาลัยอีก

               ค ารบหนึ่ง ทรงเห็นว่าตึกจักรพงษ์ทรุดโทรมและคับแคบ ไม่เพียงพอแก่จ านวนนิสิตเกือบ 3,000 คนในสมัยนั้น

               จึงประทานเงินเพิ่มเติมอีก 200,000 บาท เพื่อให้มหาวิทยาลัยบูรณะและต่อเติมอาคารออกไปทางทิศใต้ เพื่อ
               รองรับกิจกรรมของนิสิตที่เพิ่มจ านวนมากขึ้น ท าให้ตึกจักรพงษ์มีผังรูปตรีมุข โดยที่ยังคงลักษณะทาง

                                                                                                   42
               สถาปัตยกรรมแบบไทยประยุกต์ไว้ได้อย่างกลมกลืน มีพิธีเปิดอาคารในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497

                       4.3.5 ตึกวชิรมงกุฎ วชิราวุธวิทยาลัย

                       ตึกวชิรมงกุฎ เป็นอาคารเรียนของวชิราวุธวิทยาลัย ซึ่งแต่เดิมคือโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ที่สถาปนา

               ขึ้นตามพระราชด าริในรัชกาลที่ 6 เมื่อพ.ศ. 2453 ที่สวนกระจัง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระราชวัง
               ดุสิต โรงเรียนนั้นหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีตึกคณะอยู่สี่มุม แต่ละคณะมีหอพักนักเรียน ห้องเรียน และที่

               อยู่ครู ตรงกลางเป็นตึกที่ประชุมนักเรียน เรียกว่า หอสวด อาคารทั้งหมดสร้างขึ้นในรัชกาลที่ 6 ออกแบบโดย

               นายเอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์ (Edward Healey) มีรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์  ถึงรัชกาลที่ 7 ในพ.ศ. 2469 มี
               พระบรมราชโองการให้รวมโรงเรียนมหาดเล็กหลวงกรุงเทพฯ และ โรงเรียนราชวิทยาลัยเข้าด้วยกัน โดยให้

               ย้ายนักเรียนมาเรียนรวมกันที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงกรุงเทพ และพระราชทานนามโรงเรียนใหม่ว่า วชิราวุธ

               วิทยาลัย เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ของพระผู้พระราชทานก าเนิดโรงเรียน  ต่อมาในพ.ศ. 2474 ได้มีการ
               สร้างตึกเรียนหลังใหม่ ทางด้านหลัง คือด้านทิศตะวันตกของหอสวด เป็นอาคารโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก

               สูงสองชั้น ออกแบบโดยพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์) และหลวงวิศาลศิลปกรรม (เชื้อ ปัทม

               จินดา) ก่อสร้างแล้วเสร็จในพ.ศ. 2475
                       ตึกวชิรมงกุฎ (ภาพที่ 4-66 ถึง 4-68) มีผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว ตรงกลางเป็นโถงบันได สองข้างมี

               ห้องเรียนข้างละสามห้อง สองห้องแรกวางตัวขนานไปตามความยาวอาคาร ส่วนห้องปลายทั้งสองด้านวางขวาง

               เกิดเป็นมุขที่ปลายอาคารทางทิศเหนือและทิศใต้ มีมุขเล็กซ้อนอยู่ในมุขใหญ่ หลังคาตกแต่งด้วยเครื่องล ายอง
               อย่างจารีต สันนิษฐานว่าให้รับกับรูปแบบสถาปัตยกรรมของหอสวด ซึ่งสร้างขึ้น 16 ปีก่อนหน้านั้น ด้าน

               ตะวันออกของอาคารเป็นเฉลียงทางเดิน รูปด้านตกแต่งด้วยเสาเก็จ (pilaster) สูงสองชั้น ท าให้อาคารดูสง่า

               งาม ส่วนด้านทิศตะวันตกเป็นผนังห้องเรียน จึงเป็นผนังเรียบ มีหน้าต่างจ านวนมากที่เรียงอย่างเป็นระเบียบ







                                                           105
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81