Page 74 - kpi20863
P. 74
พระอุโบสถเมื่อครั้งรัชกาลที่ 4 จึงทรงออกแบบอาคาร โดยเฉพาะซุ้มที่ประดิษฐานพระประธาน ให้เรียบง่าย
ใช้สีผนังด้านหลังขับเน้นองค์พระให้โดดเด่น ส่วนที่ผนังพระอุโบสถด้านหลังพระประธานทรงออกแบบจารึก
อักษรคาถา เย ธมฺมา ด้วยตัวอักษรปัลลวะ ตามแบบจารึกสมัยทวารวดีที่ค้นพบในสมัยนั้น ประการที่สอง ใน
การออกแบบรายละเอียดลวดบัว ใบเสมา ตลอดจนซุ้มพระประธานนั้น สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนริศรานุวัดติ
วงศ์ทรงใช้ทั้งช่างฝรั่งและช่างไทยในศิลปากรสถาน ได้แก่พระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) และนายคอร์ราโด
เฟโรจี (ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี) โดยที่นายเฟโรจีเป็นผู้ก ากับการจัดสร้างใบเสมาหินอ่อนรูปท้าวจตุโลกบาล
41
ซึ่งต้องสั่งท าจากประเทศอิตาลี
4.3.3 สยามสมาคม
สยามสมาคมเป็นสถาบันเพื่อการค้นคว้าทางวิชาการที่ก่อตั้งขึ้นโดยผู้สนใจใฝ่รู้ในวิชาการต่างๆ ทั้งชาว
ต่างประเทศและชาวสยาม โดยก่อตั้งขึ้นในพ.ศ. 2447 มีกิจกรรมทางวิชาการอันหลากหลาย เช่น การปาฐกถา
และการบรรยายทางวิชาการ การค้นคว้าวิจัยทางธรรมชาติวิทยา การสืบค้นข้อมูลเอกสารประวัติศาสตร์จาก
แหล่งข้อมูลในต่างประเทศ เป็นต้น นับเป็นสมาคมเพื่อการค้นคว้าวิชาที่ส าคัญ ทว่ายังไม่มีที่ท าการมั่นคงเป็น
หลักแหล่ง จนถึงรัชกาลที่ 7 ในพ.ศ. 2471 สยามสมาคมเช่าตึกของห้างบอมเบย์เบอร์ม่า (Bombay Burmah
Trading Co.) ที่ถนนสาธรเป็นที่ท าการ แต่ถึงเดือนกรกฎาคมก็ปรากฏว่าทางห้างบอมเบย์เบอร์ม่าต้องการ
อาคารคืนและจะยุติสัญญาเช่า กรรมการสยามสมาคมจึงติดต่อให้นายฮีลีย์ช่วยออกแบบอาคารที่ท าการ
สมาคมถาวรให้เพื่อใช้ในการระดมทุนก่อสร้าง แม้ว่ายังไม่ทราบสถานที่ตั้งแน่นอน ต่อมาในการประชุม
กรรมการสมาคม วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2471 มีการน าเสนอแบบร่างอาคารสยามสมาคม เป็นห้องขนาดกว้าง
30 ฟุต ยาว 60 ฟุต จุคนได้ประมาณ 200 – 250 คน (ในขณะนั้นสมาคมมีสมาชิกประมาณ 200 คน) โดย
นายฮีลีย์ประเมินราคาค่าก่อสร้างไว้ที่ประมาณ 30,000 – 50,000 บาท อย่างไรก็ดี ขณะนั้นสยามสมาคมไม่มี
เงินทุนเพียงพอ กรรมการจึงมีมติให้ใช้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นที่ท าการสมาคมชั่วคราวไปก่อน พร้อมกัน
นั้นทางกรรมการได้ตั้งอนุกรรมการระดมทุนเพื่อสร้างที่ท าการถาวร (Building Fund) โดยได้น าแบบร่าง
อาคารสมาคมของนายฮีลีย์ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายต่อรัชกาลที่ 7 อีกด้วย
การระดมทุนสร้างอาคารสยามสมาคมด าเนินไปเป็นเวลาหลายปี จนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2474 ก็
ปรากฏว่านายเอ อี นานา เศรษฐีที่ดินรายใหญ่ได้มีจิตกุศล บริจาคที่ดินที่บางกะปิจ านวน 3 ไร่ให้สมาคมสร้าง
ที่ท าการ สมาคมจึงสามารถด าเนินการโครงการก่อสร้างได้ โดยในการประชุมกรรมการสมาคมในวันที่ 1
มิถุนายน พ.ศ. 2475 นายฮีลีย์ได้น าเสนอแบบอาคาร ซึ่งมีห้องบรรยาย (lecture hall) ขนาดกว้าง 35 ฟุต
ยาว 56 ฟุต พร้อมห้องประกอบอื่นๆ เป็นราคาค่าก่อสร้างประมาณ 28,000 บาท และถ้ารวมงานระบบไฟฟ้า
สุขาภิบาล ถนน และเรือนผู้ดูแลสถานที่แล้ว งบประมาณจะตกอยู่ที่ 34,000 บาท ซึ่งทางกรรมการมีมติ
เห็นชอบ ให้นายฮีลีย์ด าเนินการเปิดประมูลโครงการ จัดหาผู้รับเหมามาก่อสร้างได้เลย และแม้ว่าจะเกิดการ
เปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 แต่การก่อสร้างอาคารสยามสมาคมก็คงด าเนิน
103