Page 113 - kpi21595
P. 113
โครงการปลูกพืชปลอดสารพิษในกระถางประดิษฐ์จากของเหลือใช้
โครงการนี้เป็นหนึ่งในโครงการที่นักเรียนพลเมืองตำบลสะอาดสมบูรณ์ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด เลือก
ดำเนินการในฐานะนวัตกรรมของนักเรียนพลเมืองเพื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนพลเมือง โดย
โครงการมีเป้าหมายสำคัญในการส่งเสริมการปลูกพืชปลอดสารพิษ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพและลดค่าใช้จ่ายใน
ครัวเรือนไปพร้อมกัน ซึ่งจะกระทำร่วมกันกับการลดขยะในชุมชนโดยนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้ อาทิ นำเศษฟาง
เปลือกมะพร้าว แกลบ มาอัดเป็นกระถางต้นไม้ สำหรับปลูกพืชปลอดสารพิษดังกล่าว จากนั้นนำ เศษผ้า
ถุงพลาสติกและไม้ไผ่มาสานเป็นกระถางครอบด้านนอกเพื่อเพิ่มมูลค่าของกระถาง ในการนี้ นักเรียนพลเมือง
ตำบลสะอาดสมบูรณ์ได้พยายามเรียนรู้วิธีการสานกระถางจากเศษวัสดุด้วยตนเองจากวิดิโอคลิปสอนวิธีการ
สานกระถางที่มีผู้จัดทำและอัพโหลดไว้ในโซเชียลมีเดีย จากนั้นนักเรียนพลเมืองจะถ่ายทอดวิธีการสานกระถาง
ดังกล่าวแก่เพื่อนนักเรียนเป็นอันดับแรกและหากคนในชุมชนสนใจก็สามารถเข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้วิธีการสาน
กระถางสำหรับปลูกพืชปลอดสารพิษร่วมกันต่อไปได้
จากรูปแบบกิจกรรมข้างต้นจะเห็นได้ว่าโดยโครงสร้างกิจกรรมแล้วไม่มีการระบุช่องทางในการ
เผยแพร่ความรู้เรื่องบทบาทและความสำคัญของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยไว้อย่างชัดเจนมากนัก
เนื่องจากกิจกรรมหลักๆเน้นไปที่การถ่ายทอดความรู้เรื่องการสานกระถางจากเศษวัสดุเหลือใช้เพื่อเป็นพาชนะ
ในการปลูกพืชปลอดสารพิษ ขณะที่ ผลจากการสัมภาษณ์นั้นก็ไม่ระบุชัดว่าแกนนำพลเมืองจะเชื่อมโยงความ
เป็นพลเมืองตระหนักรู้และพลเมืองกระตือรือร้นกับกิจกรรมปลูกพืชปลอดสารพิษอย่างไร ในแง่นี้ โครงการ
ปลูกพืชปลอดสารพิษในกระถางประดิษฐ์จากของเหลือใช้ข้างต้นจึงครอบคลุมในมิติการลงมือปฏิบัติแต่ยังไม่
ครอบคลุมมิติของการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจบทบาทและความสำคัญของพลเมืองสู่คนในชุมชนมากนัก
โครงการขยะแลกใจ
โครงการนี้ดำเนินการโดยแกนนำพลเมืองเสลภูมิ และนักเรียนพลเมืองเสลภูมิ โดยนำเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้
ในชั้นเรียนของโรงเรียนพลเมืองในเรื่องการจัดการขยะโดยวิทยากรจากสถาบันพระปกเกล้าไปขยายผลต่อใน
พื้นที่ที่ตำบลขวาว โดยจัดอบรมการคัดแยกขยะให้แก่ประชาชนในตำบลขวาว เรื่องการคัดแยกและการจัดการ
ขยะโดยการล้างถุงพลาสติกและตากให้แห้งก่อนนำไปขายต่อให้กับร้านรับซื้อของเก่า เพื่อเปลี่ยนขยะให้
กลายเป็นรายได้ ผลจากการสัมภาษณ์และภาพถ่ายหลักฐานแสดงให้เห็นว่าแกนนำพลเมืองเสลภูมิและ
นักเรียนพลเมืองจากตำบลขวาวอำเภอเสลภูมิ ใช้รูปแบบกิจกรรมเช่นเดียวกันกับที่สถาบันพระปกเกล้า
ถ่ายทอดให้ โดยเริ่มตั้งแต่การกล่าวถึงความเป็นพลเมือง ประเภทของขยะ ผลกระทบจากขยะ และการจัดการ
ขยะ จากนั้นจึงปิดท้ายด้วยการสาธิตวิธีการจัดการขยะโดยการล้างทำความสะอาดและตากให้แห้ง เพื่อให้
สามารถจัดเก็บและนำไปขายต่อเพื่อสร้างรายได้
โครงการนี้นับเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้การสร้างสำนึกพลเมืองมีความเป็นรูปธรรม
จับต้องได้ โดยใช้ประสบการณ์ที่คนในชุมชนมีร่วมกันในการเผชิญหน้ากับขยะจำนวนมากมาเป็นจุดร่วมในการ
ทำกิจกรรม เมื่อพิจารณาจากรูปแบบของกิจกรรมแล้วจะพบได้ว่ากิจกรรมนี้มีรูปแบบที่ครบถ้วนในฐานะ
โครงการที่ดีที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงสำนึกพลเมืองได้ตามทฤษฎี เนื่องจากมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ มีการ
102