Page 109 - kpi21595
P. 109

ภาคพลเมืองที่ต้องติดตามดูแลการจัดการเรียนการสอนทุกครั้ง ทำให้ค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอต่อการจัดหารถและ

               อาหารสำหรับการนำนักเรียนพลเมืองไปทัศนศึกษา ซึ่งเรื่องนี้เป็นปัญหาที่จำเป็นต้องได้รับการพิจารณาอย่าง
               จริงจังว่า “โรงเรียนพลเมือง” ควรสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นในลักษณะที่เป็นระบบราชการเช่นนี้หรือไม่ในฐานะ

               ที่มีจุดประสงค์การก่อตั้งเป็นองค์กรภาคประชาสังคม

                       อย่างไรก็ตาม จากบทสัมภาษณ์ของแกนนำพลเมืองอำเภอเมืองร้อยเอ็ดรวมไปถึงนักเรียนพลเมือง
               หลายคนที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่าตัวนักเรียนพลเมืองยังมีการรับรู้โรงเรียนพลเมืองในความหมายของ

               “โรงเรียน” แบบดั้งเดิม ในแง่ที่เป็นสถานที่ถ่ายทอดวิชาความรู้เป็นหลัก พวกเขาไม่ได้เข้าใจว่าโรงเรียน
               พลเมืองเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างคนในชุมชนและปราชญ์ผู้รู้จากภายใน

               ชุมชนหรือภายนอกชุมชนตามที่สถาบันพระปกเกล้าตั้งใจให้เป็นตั้งแต่แรก พวกเขายังมีความเชื่อว่า นักเรียน

               คือ “ผู้รับ” มากกว่า “ผู้ให้” ยังคงปรากฏให้เห็นจากบทสัมภาษณ์ข้างต้น ซึ่งความเข้าใจของนักเรียนพลเมือง
               เช่นนี้ได้กลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่กีดขวางการริเริ่มกิจกรรมอื่นๆที่นอกเหนือไปจากที่หลักสูตรกำหนดไว้

                       ข้างต้นเป็นส่วนของโครงการโรงเรียนพลเมืองที่แกนนำพลเมืองของอำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอพนม
               ไพร และอำเภอเสลภูมิ เลือกดำเนินการในพื้นที่ของตน จะเห็นได้ว่ารูปแบบการสร้างความเป็นพลเมืองของ

               โครงการโรงเรียนพลเมืองนั้น แม้จะตามทฤษฎีแล้วจะมีศักยภาพในการสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็น

               พลเมืองได้ อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติก็ยังพบว่ามีข้อจำกัดหลายประการที่ทำให้ตัวโครงการโรงเรียนพลเมือง
               ยังไม่สามารถแสดงศักยภาพในการสร้างความเป็นพลเมืองได้เต็มที่ทั้งเงื่อนไขด้านการบริหารจัดการ การรับรู้

               ของนักเรียนและการใช้งาน ในส่วนถัดไปผู้วิจัยจะกล่าวถึงรูปแบบการสร้างความเป็นพลเมืองของโครงการอื่นๆ

               ที่แกนนำพลเมืองได้ดำเนินการในอำเภอของตนสู่คนในชุมชน โดยเริ่มต้นจากโครงการของอำเภอพนมไพร
               อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอเสลภูมิ และอำเภอปทุมรัตต์ ตามลำดับคะแนนความเป็นพลเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป

               เพื่อตรวจสอบว่ารูปแบบรูปแบบการสร้างความเป็นพลเมืองของโครงการเหล่านั้นแตกต่างกันในสาระสำคัญที่
               อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการสร้างความเป็นพลเมืองที่แตกต่างกันหรือมไ


                       โครงการธรรมนูญรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                       สำหรับโครงการนี้จัดทำโดยแกนนำพลเมืองและนักเรียนพลเมืองพนมไพร โดยมีข้าราชการครูจาก

               โรงเรียนดอนเสาโฮงผู้หนึ่งซึ่งเป็นหนึ่งในนักเรียนพลเมืองพนมไพรเป็นผู้ผลักดันให้เกิดการเปิดเวทีลงนามความ

               ร่วมมือในธรรมนูญรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดังกล่าว สืบเนื่องจากโรงเรียนดอนเสาโฮงถูกคน
               ในชุมชนบุกรุกพื้นที่ป่าสาธารณะที่อยู่ในการดูแลของโรงเรียนเพื่อใช้เป็นที่ทำกินของตนมาเป็นเวลานาน

               อันนำมาสู่การกระทบกระทั่งกันระหว่างโรงเรียนและคนในชุมชน ทำให้โรงเรียนมีความต้องการคืนป่าดอนเสา

               โฮงบางส่วนที่ถูกบุกรุกคืนแก่กรมธนารักษ์เพราะเดิมพื้นที่นี้เป็นที่ราชพัสดุ จึงได้นำเรื่องดังกล่าวมาหารือกับ
               เพื่อนนักเรียนพลเมืองโดยนำความรู้และแรงบันดาลใจจากวิทยากรในโรงเรียนพลเมืองเรื่องการอนุรักษ์

               ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยใช้กลยุทธการเพาะเห็ดโคนต้นไม้มาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา
               ดังกล่าวด้วยการเชิญชวนให้คนในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์ป่าไม้เพื่อให้เห็ดที่เพาะไว้ที่โคนต้นไม้สามารถเติบโต

               และสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนต่อไป ซึ่งเพื่อนนักเรียนพลเมืองเห็นชอบร่วมกันในการผลักดันให้มีการ



                                                                                                        98
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114