Page 108 - kpi21595
P. 108

จากอำเภอเสลภูมิผู้หนึ่งก็กล่าวในทำนองเดียวกันว่าการเข้าศึกษาที่โรงเรียนพลเมืองนั้นทำให้เขาได้

               ประสบการณ์แปลกใหม่ “พูดตรงๆว่าน่าสนใจ  คนที่เราเชิญไป แล้วไม่มาไม่รู้ว่าเพราะอะไร  ไม่ลงทุนอะไร  ...
               ทั้งๆที่ได้รู้อะไรแปลกใหม่ หลายคนก็เป็นประสบการณ์ ... ผมได้สัมผัสอะไรดีๆ ประสบการณ์ใหม่ๆ ผมก็อยาก

               ให้คนใกล้ตัวผมเห็นด้วย ว่ามันมีกลุ่มบุคคล มีคณะหนึ่ง มาเพิ่ม บางสิ่งบางอย่างมันอ้าง งานมันก็อ้างได้ แต่ถ้า

               สนใจ จริงๆ ถ้าเขาสนใจ เขาก็มาได้” ดังนั้น กรณีที่แกนนำพลเมืองจากอำเภอเมืองร้อยเอ็ดผู้หนึ่งกล่าวว่า “...
               วิทยากร ที่เจอก็มี ... คนเดิมๆ พลเมืองก็เลยลงไปไม่ถึงจิตใจ...” นั้น เขาเองอาจไม่ได้ต้องการสะท้อนเรื่องของ

               ความไม่ดีของบทเรียนในชั้นเรียนที่ทำให้ผู้เรียนไม่สนใจมาเรียน เพราะหากผู้เรียนสนใจยังไงก็ต้องมาเรียน
               ซึ่งกรณีของคุณเอ คุณบี และคุณซี ก็ชี้ให้เห็นแล้วว่าพวกเขามีความสนใจกับบทเรียนในชั้นเรียนดังกล่าว

               จึงอาจเป็นไปได้ว่าประเด็นที่นักเรียนพลเมืองจากอำเภอเมืองร้อยเอ็ดต้องการสื่อสารก็คือประเด็นเรื่องของ

               “ความโปร่งใส” ในการบริหารจัดการงบประมาณมากกว่าเนื่องจากเขาได้กล่าวถึงงบประมาณว่าเป็นเรื่องที่ทำ
               ให้การดำเนินโครงการโรงเรียนพลเมืองเป็นสิ่งที่มีปัญหา เนื่องจากเพิ่ม “ภาระ” ให้แก่นักเรียน เช่น ต้องจ่าย

               ค่าเสื้อเอง หรือ ต้องจ่ายค่าเดินทางไปดูงานเอง จึงสร้างความ “ขับข้องใจ” บางประการให้แก่นักเรียนพลเมือง
               ดังนั้น ภาระในที่นี้จึงไม่ใช่ภาระด้านการเรียนที่ขัดขวางต่อการทำภาระกิจของนักเรียนพลเมืองแต่เป็นภาระ

               เรื่องค่าใช้จ่ายที่นักเรียนพลเมืองต้องดูแลตัวเองโดยที่โรงเรียนพลเมืองไม่อาจให้การสนับสนุนงบประมาณได้

               อย่างเพียงพอ
                       เรื่องนี้ผู้วิจัยเองมองว่าเป็นประเด็นสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามไปได้ เพราะพื้นฐานของการสร้างความเป็น

               พลเมืองนั้นเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นจากความไว้วางใจซึ่งกันและกัน อย่างไรก็ตาม ต้องแยกประเด็นข้างต้นออกเป็น

               2 ประเด็น ระหว่าง งบประมาณในการซื้อเสื้อ และ งบประมาณในการทัศนศึกษา เพราะในส่วนของเสื้อนั้น
               ไม่ได้อยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอน การจัดทำเสื้อของนักเรียนพลเมืองนั้นเป็นสิ่งที่นักเรียนพลเมืองริเริ่มขึ้น

               เอง ดังนั้นประเด็นดังกล่าวหากตัดสินใจร่วมกันว่าจะทำเสื้อก็จำเป็นที่นักเรียนพลเมืองจะต้องรับผิดชอบ
               ร่วมกันด้วยวิธีการต่างๆที่พวกตนได้ร่วมกันคิดและตกลงกันไว้ ต่างออกไปจากกรณีของการศึกษาดูงานซึ่งเป็น

               เรื่องที่มีการกำหนดไว้ในหลักสูตรว่าใน 105 ชั่วโมงนั้นนักเรียนต้องมีการศึกษาดูงานจำนวน 15 ชั่วโมง ซึ่งกรณี

               เช่นนี้เป็นที่น่าสนใจว่างบประมาณที่โรงเรียนพลเมืองแต่ละแห่งจะได้รับการสนับสนุนจากสถาบันพระปกเกล้า
               เป็นจำนวนห้าหมื่นบาทนั้นเพียงพอหรือไม่ ภายใต้งบประมาณดังกล่าวโรงเรียนพลเมืองต้องมีค่าใช้จ่าย

               อะไรบ้าง จากการสัมภาษณ์ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง ของสถาบันพระปกเกล้า จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า
               ค่าใช้จ่ายของโรงเรียนพลเมืองนั้นประกอบด้วย ค่าวิทยากร ค่าอาหารว่าง ค่าสถานที่กรณีที่ผู้นำท้องถิ่นท้องที่

               ขอให้มีการจ่ายค่าบำรุงสถานที่ ซึ่งกรณีของค่าวิทยากรนั้น หากพิจารณาจากอันตราของกระทรวงการคลัง

               การจ้างวิทยากรจะอยู่ที่ 600-800 บาทต่อชั่วโมงกรณีที่เป็นบุคลากรของภาครัฐ แต่หากไม่ใช่บุคลากรภาครัฐ
               ค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ 1,200-1,600 บาทต่อชั่วโมง ซึ่งหากคำนวณจากจำนวนชั่วโมงที่นักเรียนพลเมืองต้องเรียน

               แล้วค่าใช้จ่ายจะเกินจากจำนวนสนับสนุนห้าหมื่นบาทไปเป็นจำนวนมากมาก เรื่องนี้ศูนย์พัฒนาการเมืองภาค

               พลเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่าได้ใช้การพูดคุยและต่อรองค่าวิทยากรเหลือเพียง 900 บาทต่อครั้ง ซึ่งช่วยให้
               สามารถนำงบประมาณไปจัดสรรเรื่องอาหารว่างและค่าสถานที่ต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม งบประมาณที่เหลือนั้น

               ต้องถูกนำมาใช้เป็นค่าบริหารจัดการทางด้านสำนักงานและการเดินทางของผู้แทนจากศูนย์พัฒนาการเมือง


                                                                                                        97
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113