Page 111 - kpi21595
P. 111

เพาะกล้าไม้ เขาก็จะเอาอย่างเรา ตอนนี้ชาวบ้านเห็นว่าปลูกเห็ดได้ มีรายได้ เขาก็เริ่มอนุรักษ์ตอนนี้เราไม่ให้คน

               เข้า รอให้เห็ดออก” และกรณีที่สามคือกลัวบทลงโทษจากกติกาและกฎหมายบ้านเมือง จึงไม่กล้าเข้ามาบุกรุก
               ทำลายและเก็บเห็ดในป่าอีก จากบทสัมภาษณ์แกนนำพลเมืองพนมไพรผู้นั้นจะพบว่าด้วยเหตุที่แกนนำพลเมือง

               ผู้นี้ต้องการคืนป่าไม้ในส่วนที่ถูกบุกรุกให้แก่กรมธนารักษ์ จึงได้ไปร้องเรียนให้กรมธนารักษ์เข้ามารังวัดพื้นที่ที่

               ถูกบุกรุกใหม่อีกครั้ง จากนั้นกรมธนารักษ์ก็ได้เข้ามาทำความเข้าใจกับคนในชุมชนเรื่องพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกว่า
               พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ของราชพัสดุ ผู้ที่รุกป่าจะต้องจ่ายค่าเช่าให้แก่ราชพัสดุในอัตรา ไร่ละ 200 บาทต่อปี

               หากยังคงต้องการอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวต่อไป โดยแกนนำผู้นั้นเล่าให้ฟังว่า “ส่วนตัวนั้นโรงเรียนเรามีปัญหามา
               ตลอดเรื่องป่าไม้ มีคนบุกรุกที่ดินโรงเรียน ที่ดินโรงเรียนมี 300-400 ไร่ แต่ถูกบุกรุกมาตลอด เราก็เลยเปลี่ยน

               วิกฤติเป็นโอกาส ก็บอกไปว่าสถาบันฯจะเข้ามาดูเรื่องป่าให้ ชุมชนต้องช่วยกันตรงนี้”

                       เรื่องนี้มีความน่าสนใจว่าการที่ชาวบ้านบางส่วนไม่ได้บุกรุกป่าดอนเสาโฮงเพิ่มเติมนั้นเป็นเพราะว่า
               พวกเขา “ตระหนัก” ในบทบาทของพลเมืองในฐานะที่จะต้องร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ

               สิ่งแวดล้อมตลอดจนคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมให้มากขึ้นหรือเป็นเพราะพวกเขาต้องการได้รับประโยชน์จาก
               การเก็บเห็ดหรือเป็นเพราะกลัวหน่วยงานราชการส่วนกลางภายนอกชุมชนเท่านั้น แต่ไม่ว่าจะทำเพราะ

               ต้องการผลประโยชน์หรือเพราะเกรงกลัว ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็น

               พลเมืองตระหนักรู้และกระตือรือร้นของพลเมืองให้เกิดขึ้น จึงกล่าวได้ว่าด้วยตัวรูปแบบกิจกรรมการลงนามใน
               ธรรมนูญอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแม้จะมีประเด็นร่วมในการผลักดันกิจกรรมที่น่าสนใจและ

               เป็นจุดร่วมกันของคนในชุมชน แต่สุดท้ายแล้วรูปแบบกิจกรรมที่ใช้ก็ยังไม่ได้มีลักษณะที่ส่งเสริมสำนึกความ

               เป็นพลเมืองในการมีส่วนร่วมคิดร่วมทำของคนในชุมชน







































                                                                                                       100
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116