Page 151 - kpi21595
P. 151

โครงการพัฒนาเศรษฐกิจและอาชีพนั้นได้รับการผลักดันให้อยู่ในแผนพัฒนาทุกระดับตั้งแต่ระดับจังหวัดลง

               มาถึงระดับชุมชน โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มโครงการก่อสร้างพื้นฐานทั้งหลาย อาทิ การพัฒนาแหล่งน้ำ ห้วย
               หนอง คลอง บึง และการปรับปรุงถนนเพื่อส่งเสริมศักยภาพทางเศรษฐกิจ รองลงมาคือกลุ่มโครงการพัฒนา

               ศักยภาพของคนในชุมชนด้านการประกอบอาชีพ แม้โดยเจตนารมณ์แล้วโครงการเหล่านี้จะเป็นไปเพื่อแก้ไข

               ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและความยากจนให้แก่คนในชุมชน แต่ในทางปฏิบัติ ผู้วิจัยกลับพบว่าโครงการเพื่อ
               พัฒนาเศรษฐกิจและส่งเสริมอาชีพเหล่านี้ได้กลายเป็นเงื่อนไขที่ขัดขวางการเปลี่ยนแปลงสำนึกพลเมืองของ

               คนในชุมชนอย่างสำคัญอย่างน้อยใน 3 มิติ
                       มิติแรก เป็นผลจากรูปแบบและวิธีการที่โครงการส่งเสริมอาชีพและพัฒนาเศรษฐกิจส่วนใหญ่

               ดำเนินการในพื้นที่โดยเน้นไปที่ “การให้” มากกว่า “การสร้าง” ซึ่งส่งผลกระทบต่อสำนึกการพึ่งพาตนเองและ

               การตระหนักในศักยภาพตนเองอย่างสำคัญ ผลจากการศึกษาพบว่าโครงการส่งเสริมอาชีพทั้งหลายมักจะมีสูตร
               ในการส่งเสริมอาชีพที่คล้ายคลึงกันกล่าวคือ เริ่มต้นจากการ “ให้” ความรู้ด้านการประกอบอาชีพ จากนั้นจึง

               ปิดท้ายด้วยการ “ให้” บางสิ่งบางอย่างกับคนในชุมชน อาทิ ให้งบประมาณสนับสนุนบางส่วน หรือ ให้วัสดุ
               อุปกรณ์ พันธุ์พืชหรือพันธุ์สัตว์ เป็นต้น โดยหวังให้สิ่งเหล่านั้นเป็นทุนแรกเริ่มดำเนินการของคนในชุมชน ซึ่ง

               ผู้วิจัยมองว่า “การให้” โดยปราศจาก “การสร้าง” สำนึกพลเมืองตระหนักรู้และกระตือรือร้นควบคู่กันไป

               เพื่อให้ชาวบ้านได้ตระหนักถึงความสำคัญของทุนตั้งต้นและตระหนักในศักยภาพของพวกเขาในการพัฒนา
               ชุมชนด้วยตนเองเป็นปัญหาอย่างสำคัญที่ส่งผลให้โครงการเหล่านั้นไม่ยั่งยืน เพราะสุดท้ายแล้วชาวบ้านไม่

               สามารถใช้งานทรัพยากรที่ได้รับการสนับสนุนอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ทราบถึงแนวทางการต่อยอดต้นทุนที่

               ได้รับการสนับสนุนดังกล่าวให้ยั่งยืน ทำให้หลายครั้งกลุ่มอาชีพที่ก่อตั้งขึ้นต้องล้มลงไม่อาจต่อยอดให้งอกงามได้
               ดังข้อมูลจากตัวแทนผู้นำท้องที่ท้องถิ่นอำเภอพนมไพรได้ชี้ให้เห็นเกี่ยวกับการล่มสลายลงไปของกลุ่มอาชีพ

               เพาะเห็ด เป็นต้น
                       แต่ถึงแม้จะล้มเหลวลงไปสุดท้ายโครงการที่เป็นไปเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจโดยรูปแบบของ “การให้” ก็

               ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในชุมชน ซึ่งคนในชุมชนทราบเรื่องนี้ดี ดังที่ยายแย้มตัวแทนจากอำเภอเมืองร้อยเอ็ด

               ได้กล่าวถึงกลุ่มเลี้ยงวัวของตนว่า ถ้าวัวเป็นหมัน หรือไม่ออกลูก หรือตาย ก็แจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ
               และทางการจะนำวัวตัวใหม่มาให้ เป็นต้น “การให้” อย่างต่อเนื่องโดยปราศจาก “การสร้าง” สำนึกพลเมืองไม่

               อาจเกิดประสิทธิภาพได้ ทั้งยังส่งผลให้ผู้ที่ได้รับการสนับสนุนเกิดทัศนคติที่พึ่งพาตนเองน้อยลงเพราะพวกเขา
               ทราบดีว่าสุดท้ายแล้วหน่วยงานราชการก็จะกลับเข้ามาสนับสนุนพวกเขาและให้ทุนรอนต่างๆแก่พวกเขาอยู่ดี

               ซึ่งทัศนคติเช่นนี้ขัดขวางสำนึกพลเมืองในเรื่องของความรับผิดชอบและการพึ่งพาตนเองอันเป็นคุณลักษณะ

               หนึ่งของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยลงไป
                       มิติที่สอง เป็นผลข้างเคียงจาก “การให้” การสนับสนุนงบประมาณเพื่อการส่งเสริมรายได้และพัฒนา

               อาชีพอย่างต่อเนื่องข้างต้น ที่เปิดช่องทางในการแสวงหารายได้ให้แก่คนในชุมชนแบบไม่ตรงไปตรงมา อัน

               นำไปสู่พฤติกรรมการบิดเบือนเจตนารมณ์ของความช่วยเหลือเหล่านั้น ที่ส่งผลกระทบต่อสำนึกพลเมืองที่มี
               ความซื่อสัตย์และรับผิดชอบอย่างสำคัญ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เรื่องกองทุนวัวของยายแย้มเป็นตัวอย่างหนึ่ง

               ที่แสดงให้เห็นว่า “การให้” ของหน่วยงานราชการได้ถูกแปลงให้กลายเป็นแหล่งรายได้ของคนในชุมชนอย่างไร



                                                                                                      140
   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156