Page 146 - kpi21595
P. 146

สรุปผลการศึกษา

                       กล่าวโดยสรุปได้ว่า ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองให้แก่ประชาชนในพื้นที่นั้น ต้อง
               เผชิญกับปัจจัยหลายด้านทั้งที่ส่งเสริมและขัดขวางต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมือง อาทิ

               ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ตลอดจนปัจจัยส่วนบุคคลของทั้งแกนนำพลเมืองและประชากรใน

               พื้นที่เอง ในแง่นี้ การสรุปว่าความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองที่เป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพของ
               ปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองในระยะที่สองโดยแกนนำพลเมืองเป็นเพราะแกนนำพลเมืองไม่มีศักยภาพจึง

               ไม่อาจกระทำได้ เพราะข้อสรุปดังกล่าวไม่ได้ชี้ให้เห็นถึงเงื่อนไขปัจจัยอื่นๆที่แวดล้อมและผลักดันให้การสร้าง
               ความเป็นพลเมืองต้องประสบกับข้อจำกัดหลายประการ ที่สำคัญการพัฒนาโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลัง

               พลเมืองให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้นั้นจำเป็นต้องทราบว่าในแต่ละปัจจัยนั้นมีมิติที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อการ

               สร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองอย่างไรบ้าง
                       จากผลจากศึกษาข้างต้น จะพบได้ว่าการสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองนั้น แม้จะสามารถ

               กระทำได้ด้วยการอบรมเนื้อหาความรู้ที่เหมาะสมในระยะเวลาที่เพียงพอไม่มากไม่น้อยเกินไป โดยผสมผสาน
               กับการผลักดันให้เกิดกิจกรรมที่ผู้เข้ารับการอบรมได้ดำเนินการด้วยตนเองในพื้นที่ตามรูปแบบการดำเนิน

               กิจกรรมส่งเสริมความเป็นพลเมืองระยะที่ 1 โดยสถาบันพระปกเกล้า อย่างไรก็ตาม เมื่อแกนนำพลเมืองที่

               ได้รับการอบรมในระยะที่ 1 ต้องนำความรู้และรูปแบบกิจกรรมที่ได้รับการถ่ายทอดไปเผยแพร่ต่อในชุมชน ซึ่ง
               มีสภาพแวดล้อมเปิด (open environment) ทำให้ต้องเผชิญกับปัจจัยทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง

               ตลอดจนตัวปัจจัยส่วนบุคคลทั้งเรื่องอายุ อาชีพ ความทรงจำ และศักยภาพในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล

               ซึ่งส่งผลให้การสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองมีความท้าทายอย่างยิ่ง ประกอบกับ สภาพแวดล้อม
               ทางด้านเศรษฐกิจเองก็เป็นข้อจำกัดต่อการสร้างความสามารถในการรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่นของแกนนำ

               พลเมืองในการผลักดันกิจกรรมต่างๆเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองสู่คนในชุมชนออกมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้
               จำนวนโครงการมีแนวโน้มจะสามารถส่งเสริมและสร้างความเป็นพลเมืองในระดับพื้นที่นั้นมีอยู่เป็นจำนวนน้อย

               เมื่อพิจารณาร่วมกับโครงการเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ผลักดันออกมาจากแผนพัฒนาระดับต่างๆก็พบว่าโครงการ

               ส่วนใหญ่เป็นไปในเชิงพัฒนาทางกายภาพเป็นหลัก อาทิ การพัฒนาโครงสร้างถนน แหล่งน้ำ และพัฒนา
               สุขภาพของประชากรเป็นหลัก ไม่ใคร่เน้นการพัฒนาด้านสำนึกและจิตใจของคนในชุมชนมากนัก จะมีอยู่บ้างก็

               เพียงโครงการอบรมธรรมะที่มีอยู่จำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับโครงการที่เป็นไปเพื่อส่งเสริมกายภาพดังกล่าว
               ในแง่นี้สภาพแวดล้อมในชุมชนจึงไม่เอื้อต่อการสร้างโอกาสและเปิดพื้นที่ให้แก่คนในชุมชนได้เรียนรู้องค์ความรู้

               ที่มีความสำคัญจำเป็นต่อการพัฒนาบทบาทและสำนึกความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยมากนัก

               ขณะที่ แม้จะมีคนบางกลุ่มเข้าร่วมกิจกรรมกับแกนนำพลเมือง ในทางปฏิบัติกลับพบว่าคนเหล่านี้มีข้อจำกัดใน
               การเรียนรู้และความทรงจำ ดังนั้น การดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องจึงมีความจำเป็น แต่ถึงอย่างนั้น

               ประสิทธิภาพของโครงการก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบกิจกรรมและกระบวนการที่แกนนำพลเมืองใช้ในการส่งเสริม

               ความเป็นพลเมืองอยู่ไม่น้อย ซึ่งในแง่นี้พบว่าแกนนำพลเมืองยังมีข้อจำกัดในการถ่ายทอดความรู้และส่งเสริม
               การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในโครงการต่างๆแต่เน้นการเข้าร่วมกิจกรรมของคนในชุมชนเป็นหลัก





                                                                                                       135
   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151