Page 150 - kpi21595
P. 150

ประการแรก ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจส่งผลต่อการดิ้นรนหารายได้ของคนในชุมชนพร้อมทั้งลดทอน

               ความสนใจของคนในชุมชนในการตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับบทบาทความสำคัญของ
               พลเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองลงไป ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติชี้ให้เห็นว่าประชากรในจังหวัด

               ร้อยเอ็ดนั้นมีรายได้อยู่ในอันดับรั้งท้ายของประเทศไทยโดยจัดอยู่ในอันดับที่ 71 ของประเทศ ส่วนหนึ่งเป็น

               เพราะรายรับของคนในพื้นที่มีช่องทางที่จำกัดและไม่แน่นอน อันเนื่องมาจาก ประชากรของจังหวัดร้อยเอ็ด
               ส่วนใหญ่ก็ยังประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักมากถึงร้อยละ 46.84 ของประชากรทั้งหมด แต่ด้วยเหตุที่

               สภาพแวดล้อมของจังหวัดร้อยเอ็ดจะมีลักษณะแห้งแล้งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินเค็มทำการเพาะปลูกไม่ได้มากนัก
               จึงส่งผลให้ผลผลิตที่ได้ไม่แน่นอนกระทบกับรายได้ในภาพรวม ในทางกลับกันพวกเขากลับมีค่าใช้จ่ายใน

               ชีวิตประจำวันที่แน่นอนในหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายรายเดือน อาทิ ค่าน้ำ และค่าไฟ รวมไปถึง

               ค่าใช้จ่ายอื่นๆตามการตกลงร่วมกันของคนในชุมชนอาทิ ค่าฌาปนกิจ ซึ่งบางแห่งเก็บสูงถึง 1,000 บาทต่อราย
               ขึ้นอยู่กับการตกลงของคนในหมู่บ้าน

                       ช่องว่างระหว่างรายรับและรายจ่ายดังกล่าวจึงกลายเป็นข้อจำกัดทางด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลให้ความ
               สนใจหลักของประชากรในจังหวัดร้อยเอ็ดอยู่ที่การหารายได้เพื่อการครองชีพเป็นหลัก การที่พวกเขาเลือกเข้า

               ร่วมกิจกรรมที่มีลักษณะส่งเสริมรายได้และพัฒนาอาชีพ มากกว่าตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรมเพื่อส่งเสริมความรู้

               เรื่องความเป็นพลเมืองและการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน หรือกิจกรรมที่มีลักษณะต้องเสียสละเวลาบางส่วน
               เพื่อกิจกรรมสาธารณประโยชน์จึงเป็นเรื่องเข้าใจได้ในเชิงเศรษฐกิจ เนื่องจากการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวไม่

               สร้างรายได้ให้แก่พวกเขาโดยตรงทั้งยังเป็นการลดทอนระยะเวลาที่พวกเขาจะสามารถสร้างรายได้ลงไปอีกด้วย

               ดังสะท้อนให้เห็นได้จากบทสัมภาษณ์ของตัวแทนประชากรในพื้นที่หลายรายที่มักระบุว่า ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม
               ต่างๆของแกนนำพลเมืองเพราะพวกเขา “ไม่ว่าง” “ติดภารกิจ” ในการประกอบอาชีพนั่นเอง

                       ประการที่สอง นอกจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจจะส่งผลต่อประชากรในพื้นที่ในการตัดสินใจเข้าร่วม
               กิจกรรมเพื่อส่งเสริมและสร้างความเป็นพลเมืองแล้ว ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจยังส่งผลต่อการผลักดันโครงการ/

               กิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองสู่คนในชุมชนของแกนนำพลเมืองในระดับพื้นที่อีกด้วย โดยจะขัดขวาง

               ศักยภาพในการรวมตัวกันของแกนนำพลเมือง ผลจากการสัมภาษณ์ชี้ให้เห็นว่ามีแกนนำพลเมืองจำนวนไม่น้อย
               ที่ไม่สามารถปลีกเวลาจากภารกิจในการหาเลี้ยงชีพมาเพื่อรวมกลุ่มกับเพื่อนแกนนำพลเมืองคนอื่นได้ ส่งผลต่อ

               ความกลมเกลียวเหนียวแน่นและศักยภาพในการผลักดันโครงการ/กิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองใน
               รูปแบบต่างๆให้ลดน้อยลง และเมื่อแกนนำพลเมืองที่สามารถรวมตัวกันได้มีจำนวนลดน้อยลง จำนวนงานและ

               ความรับผิดชอบจึงเพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อจำนวนโครงการส่งเสริมความเป็นพลเมืองสู่คนใน

               ชุมชนให้มีจำนวนจำกัดโดยเฉลี่ย 1-2 โครงการต่ออำเภอ โดยโครงการส่วนใหญ่เป็นไปในระยะสั้น ในแง่นี้การ
               ดำเนินโครงการ/กิจกรรมของแกนนำพลเมืองจึงไม่เพียงพอต่อการสร้างสภาพแวดล้อมในการปรับทัศนคติและ

               พฤติกรรมความเป็นพลเมืองสู่คนในชุมชนได้

                       ประการที่สาม เป็นผลจากตัวโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจที่ได้รับการผลักดันจากหน่วยงานราชการ
               หลายหน่วยงานเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและส่งเสริมรายได้ให้แก่คนในชุมชน ผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า

               ปัญหาด้านเศรษฐกิจถูกเน้นย้ำและให้ความสำคัญอย่างมากจากหน่วยงานราชการในระดับพื้นที่ ดังจะเห็นได้ว่า



                                                                                                      139
   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155