Page 148 - kpi21595
P. 148
บทที่ 5
บทวิเคราะห์และข้อเสนอแนะ
ในบทนี้ผู้วิจัยนำผลการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ได้กล่าวไว้ในบทที่ 4 มาวิเคราะห์ภายใต้
กรอบทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้ให้เห็นว่าผลการศึกษาที่พบนั้นมีความหมายอย่างไร สะท้อนให้เห็นนัยสำคัญ
อะไรบ้าง โดยเฉพาะในส่วนของเงื่อนไขปัจจัยที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อการส่งเสริมและสร้างความเป็นพลเมือง
ตระหนักรู้และกระตือรือร้นตามนิยามที่กำหนดไว้ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
และข้อเสนอแนะเชิงการวิจัยในส่วนสุดท้าย
ผลการศึกษา ชี้ให้เห็นว่าโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองนั้นสามารถสร้างความ
เปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และกระตือรือร้นตามนิยามที่กำหนดไว้ให้เกิดขึ้นกับกลุ่มประชากรที่
เข้าร่วมโครงการได้จริง โดยผลการศึกษาทั้งปริมาณและเชิงคุณภาพขี้ให้เห็นตรงกันว่า ปฏิบัติการเสริมสร้าง
พลังพลเมืองในระยะแรก ซึ่งเป็นการอบรมสำนึกพลเมืองสู่ “แกนนำพลเมือง” โดยตรงของสำนักส่งเสริม
การเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า ประสบความสำเร็จเนื่องจากสามารถสร้างให้ “แกนนำพลเมือง” มี
การเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองเพิ่มขึ้นทุกด้านภายหลังเข้ารับการอบรม กล่าวคือ มีความสนใจความเป็นไป
ของชุมชนและสังคมมากขึ้น ตระหนักในศักยภาพของตนเองมากขึ้น มีความรู้เรื่องหลักการประชาธิปไตยมาก
ขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีพฤติกรรมการแสดงออกซึ่งความเป็นพลเมืองมากขึ้น ในแง่ของการเผยแพร่ความรู้
ความเข้าใจบทบาทและความสำคัญของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยแก่ผู้อื่น กล้าแสดงความคิดเห็นในที่
ประชุมมากขึ้นทั้งในเรื่องสังคมการเมือง ตลอดจนมีความกระตือรือร้นในการทำงานจิตอาสาต่างๆเพื่อชุมชน
เพิ่มมากขึ้น เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ปฏิบัติการส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระยะที่สองที่ดำเนินการโดยแกนนำพลเมืองที่
ได้รับการอบรมในระยะแรกสู่คนในชุมชน พบว่าไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองสู่คนใน
ชุมชนได้ ผลการศึกษาเชิงปริมาณชี้ให้เห็นว่าคะแนนความเป็นพลเมืองของกลุ่มตัวอย่างทั่วไปที่คาดว่าจะได้รับ
ผลกระทบจากปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองของแกนนำพลเมืองนั้นมีคะแนนความเป็นพลเมืองลดลง
ขณะที่ผลการศึกษาเชิงคุณภาพก็ยืนยันไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ ขณะที่แกนนำพลเมืองสามารถอธิบาย
ได้ว่าพลเมืองคือใครสำคัญอย่างไร แต่กลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้รับการอบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้ากลับไม่
สามารถตอบได้ว่าพลเมืองคือใครและสำคัญอย่างไร แม้ว่าพวกเขาจะเคยเข้าร่วมกิจกรรมที่แกนนำพลเมืองจัด
ขึ้นก็ตาม
ผลการศึกษาข้างต้นจึงชี้ให้เห็นว่า แม้การสร้างความเป็นพลเมืองโดยใช้รูปแบบผสมผสานระหว่างการ
อบรมและการกระตุ้นให้เกิดการลงมือปฏิบัตินั้นสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองได้จริงตาม
ทฤษฎีสร้างสำนึกพลเมือง กระนั้น ปฏิบัติการส่งเสริมความเป็นพลเมืองที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยระหว่าง
ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ในเรื่อง การได้รับการอบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้าหรือไม่นั้น ก็ส่งผลต่อการ
137