Page 149 - kpi21595
P. 149

เปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองที่มากน้อยแตกต่างกันออกไปอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ผลการศึกษาสหสัมพันธ์

               ระหว่างการเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองกับเงื่อนไขปัจจัยอื่นก็พบว่าปัจจัยด้านเพศ ระดับการศึกษาสูงหรือ
               ต่ำ อายุมากหรือน้อย หรือประกอบอาชีพใด ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองแต่อย่าง

               ใด มีเพียงเรื่องเดียวที่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองอย่างมีนัยสำคัญคือเงื่อนไขเรื่องการ

               ได้รับความรู้เรื่องบทบาทและความสำคัญของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยจากสถาบันพระปกเกล้า ไม่ว่า
               จะผ่านการอบรมหรือสื่อต่างๆ


                       สรุปผลการศึกษาได้ว่า คนทุกกลุ่มไม่ว่าจะแตกต่างกันที่เพศสภาพ ช่วงอายุ ระดับการศึกษา และ
               อาชีพ ก็สามารถที่จะมีความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองที่สูงขึ้นได้ หากได้รับการอบรมเรื่องสำนึกพลเมือง

               (civic education) โดยเฉพาะและมีความรู้เรื่องบทบาท ความสำคัญและการมีส่วนร่วมของพลเมืองในระบอบ

               ประชาธิปไตยอย่างเหมาะสม จึงสรุปในเบื้องต้นได้ว่า “การอบรมสำนึกพลเมือง” โดยตรงจากสถาบัน
               พระปกเกล้าเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองแก่คนในพื้นที่ได้

                       กระนั้น จากผลการศึกษาข้างต้นที่ชี้ให้เห็นว่า ปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองในระยะที่ 1 และ
               ระยะที่ 2 ให้ผลลัพธ์ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองที่แตกต่างกัน ดังนั้น เพื่อตอบคำถาม

               ดังกล่าวผู้วิจัยได้นำวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพมาใช้ศึกษาประกอบกัน ซึ่งผลจากการศึกษาเชิงคุณภาพชี้ให้เห็นว่า

               ปัจจัยต่างๆที่โอบล้อมกระบวนการสร้างความเป็นพลเมืองในระดับพื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะกีดขวางการก่อรูป
               สำนึกและพฤติกรรมความเป็นพลเมืองของคนในชุมชน โดยปัจจัยที่พบว่ามีลักษณะขัดขวางต่อการก่อเกิดการ

               เปลี่ยนแปลงสำนึกความเป็นพลเมืองอย่างมากคือ ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยทางด้านการเมือง และปัจจัย
               ส่วนบุคคลตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่มีแนวโน้มสนับสนุนต่อการก่อรูปสำนึกและพฤติกรรมความเป็นพลเมืองของ

               กลุ่มเป้าหมาย คือ ปัจจัยด้านแกนนำพลเมืองและสภาพสังคมที่มีความเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีและ

               อุดมการณ์ทางการเมืองบางประการ
                       เพื่อให้ท่านผู้อ่านเห็นภาพว่าเพราะเหตุใดปัจจัยต่างๆที่ผู้วิจัยกล่าวถึงไปข้างต้นจึงมีส่วนขัดขวางหรือ

               ส่งเสริมอย่างไรต่อปฏิบัติการส่งเสริมความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และพลเมืองกระตือรือร้นในระบอบ

               ประชาธิปไตย ผู้วิจัยจะกล่าวถึงบทวิเคราะห์ความสัมพันธ์ที่ปัจจัยแต่ละด้านมีผลต่อกระบวนการสร้างความ
               เป็นพลเมืองในรายละเอียด โดยจะเริ่มต้นวิเคราะห์จากปัจจัยที่มีแน้วโน้มขัดขวางต่อการส่งเสริมความเป็น

               พลเมืองก่อน จากนั้น จึงกล่าวถึงปัจจัยที่มีแนวโน้มสนับสนุนต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมือง

               สุดท้ายจึงเป็นเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการปรับปรุงโครงการต่อไปตามลำดับ


               1. ปัจจัยที่มีแนวโน้มขัดขวางต่อการสร้างสำนึกพลเมือง
               1.1 ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ

                       จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจนั้นเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ขัดขวางต่อการส่งเสริม

               และสร้างความเป็นพลเมืองสู่คนในชุมชน ด้วยเหตุผลอย่างน้อย 3 ประการ คือ







                                                                                                      138
   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154