Page 165 - kpi21595
P. 165

performance indictor) เท่านั้น เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นแม่นยำและตรงกับข้อเท็จจริงมากขึ้น อันจะเป็น

               ผลดีต่อการกำหนดนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย ซึ่งการประเมินความเป็นพลเมืองตาม

               พัฒนาการนั้น ส่วนหนึ่งอาจทำได้โดยการมุ่งประเมินไปที่กระบวนการมีส่วนร่วมให้มากขึ้นแทนการมุ่งพิจารณา

               ไปที่ผลผลิต (output) ที่จะได้จากการทำโครงการ เป็นต้น

                       2) ข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ

                       2.1) การวิจัยเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดความเป็นพลเมืองแบบเป็นพัฒนาการ (evolution

               assessment)

                       สืบเนื่องจากข้อเสนอเรื่องการประเมินความเป็นพลเมืองตามพัฒนาการ (evolution assessment)

               ในข้อ 1.3 ผู้วิจัยมองว่าเรื่องดังกล่าวจำเป็นต้องดำเนินการควบคู่กันไปกับงานวิจัยเพื่อค้นหาตัวชี้วัดความเป็น

               พลเมืองที่เน้นการประเมินการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการ (evolution assessment) ของกลุ่มเป้าหมายให้มาก

               ขึ้น โดยอาจนำกรอบการวิจัยวัดความเป็นพลเมืองในพื้นที่บูรณาการฉบับนี้มาเป็นตัวตั้งของการวิจัยเนื่องจาก
               กรอบการวิจัยที่พัฒนาขึ้นสำหรับรายงานการประเมินฉบับนี้ มีความครอบคลุมกอบกติกาความเป็นพลเมือง

               สากลอยู่แล้ว เพียงแต่ควรมีการเพิ่มเติมแนวทางการประเมินแบบเป็นพัฒนาการเข้าไปเพื่อให้สามารถประเมิน

               ความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองของกลุ่มประชากรที่อยู่ภายใต้บริบทของพื้นที่และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน

               ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น


                       2.2) การวิจัยชุดความรู้ความเป็นพลเมืองเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย

                       แม้ผลจากการศึกษาทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพชี้จะให้เห็นแล้วว่า“ความเป็นพลเมือง”นั้น
               สามารถสร้างได้โดยการเสริมความรู้และพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับการเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ดังจะ

               เห็นได้ว่ากลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับการอบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้าไม่ว่าจะเป็นเพศใด ช่วงอายุเท่าใด
               และประกอบอาชีพใด สุดท้ายแล้วก็มีคะแนนความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และพลเมืองกระตือรือร้นสูงกว่ากลุ่ม

               ตัวอย่างทั่วไปที่ไม่ได้เข้ารับการอบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้าในภาพรวม ในแง่นี้แสดงให้เห็นได้ว่า

               ปัจจัยด้านเพศสภาพ อายุ และอาชีพไม่ใช่เงื่อนไขสำคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมือง
               แต่เงื่อนไขที่สำคัญคือ “องค์ความรู้เฉพาะ” (particular knowledge) ในเรื่องบทบาทหน้าที่ของพลเมืองใน

               ระบอบประชาธิปไตย ที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองได้ ด้วยเหตุนี้ การส่งเสริมความเป็น
               พลเมืองจึงไม่อาจกระทำได้โดยการให้ความรู้แบบธรรมดา (general knowledge) แต่ต้องเป็นชุดความรู้

               สำหรับการเป็นพลเมืองดีโดยเฉพาะ (Civic education) หรือเป็นชุดความรู้ที่ผลิตขึ้นมาสำหรับการสร้างสำนึก

               พลเมืองโดยตรง
                       อย่างไรก็ตาม จากผลการศึกษาได้ชี้ให้เห็นแล้วว่าในการเผยแพร่ความรู้เรื่องสำนึกพลเมืองนั้นต้อง

               เผชิญกับปัจจัยหลายด้าน ที่สำคัญคือสุดคือปัจจัยด้านผลประโยชน์ (preference) ซึ่งในที่นี้ประกอบด้วย

               ผลประโยชน์ที่จับต้องได้อาทิ รายได้ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต อีกส่วนเป็นผลประโยชน์ที่จับต้องไม่ได้ ใน




                                                                                                      154
   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170