Page 160 - kpi21595
P. 160
ที่มีประสิทธิภาพเพราะทำให้คนในชุมชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของชุมชนได้มากขึ้นรวดเร็วขึ้น ขณะที่
จากการสัมภาษณ์พบว่าหลายกรณีการพูดคุยประเด็นต่างๆในไลน์กลุ่มนั้นช่วยสร้างความสนใจต่อประเด็นที่จะ
มีการพูดคุยในการประชุมประชาคมมากขึ้น ส่งผลให้มีผู้มาร่วมประชาคมมากขึ้น แม้ในการประชุมประชาคม
คนในชุมชนอาจไม่ได้มีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นกันทุกคน กระนั้น กลุ่มตัวอย่างยืนยันว่าการประชุม
ประชาคมในปัจจุบันมีผู้สนใจแสดงความคิดเห็นมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับแต่ก่อน ส่วนหนึ่งคาดว่าเป็นเพราะ
คนในชุมชนสามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้และได้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันมากขึ้น แม้แต่ผู้ที่ไม่กล้าแสดง
ความคิดเห็นก็ยังมีแนวโน้มที่จะเข้าร่วมประชุมและรับฟังการให้เหตุผลของแต่ละฝ่ายเพื่อประกอบการตัดสินใจ
มากขึ้น ในแง่นี้จึงกล่าวได้ว่าการพัฒนาของเทคโนโลยีการสื่อสารกำลังเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางด้าน
สังคมและวัฒนธรรม ในแง่ของการเสริมสร้างความตระหนักรู้ในศักยภาพตนเองของคนในชุมชนที่เพิ่มมากขึ้น
อย่างสำคัญ ซึ่งสภาพแวดล้อมทางสังคมเช่นนี้มีลักษณะที่เอื้อต่อการส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระบอบ
ประชาธิปไตยอย่างยิ่ง
มิติที่สอง อุดมการณ์เรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่กำลังหยั่งรากในสังคม
ผลการศึกษาพบบ่าการเปลี่ยนแปลงอุดมการณ์ทางการเมืองเรื่องการกระจายอำนาจที่เริ่มปรากฏขึ้น
ราวพ.ศ.2535 ที่ผลักดันให้เกิดรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนในปี 2540 และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและ
ขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 นั้น กำลังบ่มเพาะวัฒนธรรมการระดม
ความคิดเห็นก่อนเริ่มต้นดำเนินโครงการต่างๆในระดับพื้นที่ได้อย่างลึกซึ้งน่าสนใจ แม้ว่าผลจากการสัมภาษณ์
กลุ่มตัวอย่างจะชี้ให้เห็นว่าการประชุมประชาคมถูกใช้เป็นเพียงเครื่องมือในการรับรองโครงการที่ทางราชการ
กำหนดขึ้นแล้วเท่านั้น การแสดงความคิดเห็นต่างๆของคนในชุมชนเป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นต่อ
โครงการที่ทางราชการได้จัดทำเป็นข้อเสนอเรียบร้อยแล้วและเป็นไปในลักษณะของการจัดลำดับการดำเนิน
โครงการใดก่อนหรือหลังเท่านั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบกับการปรับเปลี่ยนโครงการในภาพรวม หากพิจารณาในแง่
นี้ “การประชาคมหมู่บ้าน” จึงไม่ได้สะท้อนให้เห็นการกระจายอำนาจการปกครองอย่างแท้จริง แต่เป็นไปตาม
กระแสที่บีบรัดเข้ามาของสังคมไทยและสังคมโลกที่เรียกร้องการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในฐานะหนึ่งใน
ตัวชี้วัดคุณภาพประชาธิปไตยเท่านั้น การประชาคมหมู่บ้านที่ผ่านมาจึงยังไม่ถูกใช้เพื่อสร้างประโยชน์และ
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนอย่างเต็มที่
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้วิจัยแล้วการประชุมประชาคมหมู่บ้านได้รับอิทธิพลมาจากการเปลี่ยนแปลง
อุดมการณ์ทางการเมืองในเรื่องของประชาธิปไตยทางตรงและประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมที่ได้รับการกล่าวถึง
มากขึ้นในสังคมไทยมาอย่างเต็มที่ อุดมการณ์ชุดนี้ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางความคิดความเชื่อของคนใน
ชุมชนแต่เดิมที่ให้ความสำคัญกับการตัดสินใจของผู้นำมาอยู่ที่ลูกบ้านมากขึ้น แม้ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการประชุม
ประชาคมที่เกิดขึ้นยังมีข้อจำกัดหลายด้าน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าการประชุมประชาคมหมู่บ้านเป็นสิ่งที่
ผู้นำท้องที่ผู้นำท้องถิ่นไม่อาจปฏิเสธและมองข้ามได้ ไม่ใช่เพียงเพราะมันเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสร้าง
ความชอบธรรมให้แก่การดำเนินโครงการต่างๆในพื้นที่เท่านั้น แต่มันยังเป็นสิ่งที่คนในชุมชน “คาดหวัง” ว่า
ต้องเกิดขึ้น ดังที่ตัวแทนจากตำบลขี้เหล็กอำเภอปทุมรัตต์กล่าวเกี่ยวกับการประชุมประชาคมว่า “ต้องถามเป็น
เรื่องธรรมดา เพราะต้องขอมติ เป็นประชาคม ...เราอยากได้อะไร เราก็ต้องไปประชุม เราจะเอาน้ำ เอาอะไร
149