Page 164 - kpi21595
P. 164

สอนแบบสองทาง (active learning) ในโรงเรียนพลเมืองควบคู่กัน โดยส่งเสริมบทบาทของการเป็น “ผู้ทำ

               กิจกรรม” ของผู้เรียน และ “ผู้นำกิจกรรม” (instructor) ของผู้สอนให้มากขึ้น โดยในการเรียนการสอน

               องค์ความรู้หรือทฤษฎีอาจใช้กรณีศึกษาในพื้นที่มาเป็นตัวอย่างเพื่อเรียนรู้ร่วมกัน (case based study) อันจะ

               ช่วยส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากประเด็นปัญหาต่างๆในชุมชน ซึ่งมีโอกาสที่ผู้เรียนจะมีการ
               แลกเปลี่ยนเรียนรู้มากขึ้นเนื่องจากเป็นประเด็นที่ใกล้ตัว ซึ่งการแลกเปลี่ยนที่เพิ่มมากขึ้นนี้อาจนำไปสู่

               ข้อเสนอแนะในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาต่างๆเหล่านั้นได้อีกด้วย


                       1.3.3 การบูรณาการเครือข่าย

                       ผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าที่ผ่านมา แกนนำพลเมืองมักดำเนินโครงการโรงเรียนพลเมืองโดยลำพัง
               ยังไม่ได้มีการประสานความร่วมมือเข้ากับเครือข่ายองค์การในระดับท้องที่ ท้องถิ่น มากนัก ไม่ว่าจะเป็นองค์กร

               ปกครองส่วนท้องถิ่น กศน. โรงเรียน หรือแม้แต่วัด ซึ่งการมีเครือข่ายนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างการยอมรับ

               การสร้างความต่อเนื่องในการดำเนินกิจกรรม ตลอดจนสร้างการสนับสนุนผลักดันกิจกรรมต่างๆอย่างมาก

               ดังนั้น เพื่อให้โรงเรียนพลเมืองสามารถเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเต็มที่ การแสวงหาเครือข่ายเพื่อร่วม

               ดำเนินโครงการจึงมีความสำคัญจำเป็น แม้อาจไม่ใช่เรื่องง่ายหรือหาได้ตั้งแต่ระยะแรกๆของการดำเนินโครก
               งาร กระนั้น แกนนำพลเมือง และนักเรียนพลเมือง ควรแสวงหาการสร้างเครือข่ายเพื่อส่งเสริมความเป็น

               พลเมืองในระดับพื้นที่ร่วมกับโรงเรียนพลเมืองอย่างต่อเนื่อง โดยอาจใช้การประชาสัมพันธ์บทบาทของโรงเรียน

               พลเมืองให้มากขึ้น หรือกำหนดกิจกรรมบางอย่างเพื่อแสวงหาเครือข่ายที่มีจุดยืนทางพันธกิจร่วมกันเพื่อสร้าง

               ความร่วมมือ หรือแม้แต่การแจ้งให้หน่วยงานราชการหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบถึงกิจกรรมที่

               โรงเรียนพลเมืองดำเนินการ เป็นต้น เหล่านี้อาจเป็นส่วนหนึ่งในการแสวงหาเครือข่ายความร่วมมือได้


                       1.4) ใช้การประเมินความเป็นพลเมืองตามพัฒนาการ (evolution assessment)

                       ผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าความเป็นพลเมืองนั้นมีความยืดหยุ่นตามลักษณะบริบทของพื้นที่

               ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ซึ่งการประเมินความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองโดยอิงกับเกณฑ์เพียงเกณฑ์
               เดียวนั้น อาจส่งผลให้การประเมินความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง

               ยกตัวอย่างเช่น กรณีของชาวบ้านในตำบลหนึ่งของอำเภอปทุมรัตต์ที่ได้รวมตัวกันระดมทุนเพื่อซ่อมถนนนั้น

               นับเป็นความเข้มแข็งของชุมชนปรการหนึ่ง แม้ว่าสุดท้ายแล้วจะถูกปฏิเสธจากหน่วยงานที่ดูแลว่าชาวบ้านไม่มี

               อำนาจทำได้ อันส่งผลให้การรวมตัวนั้นต้องยุติลง ในแง่นี้หากพิจารณาที่ผลลัพธ์ของความสำเร็จของการซ่อม

               ถนนนั้น ผู้ศึกษาจะไม่พบกับความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมือง แต่หากเปลี่ยนมาพิจารณาตามพัฒนาการ
               โดยดูการเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนแปลงไปของคนในชุมชนแทน เช่น มีการริเริ่มรวมตัวกัน มีการระดมเงินทุนเพื่อ

               แก้ไขปัญหาแม้จะไม่สำเร็จแต่นั่นก็คือร่องรอยความเป็นพลเมืองที่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงเสนอให้การ

               ประเมินความเป็นพลเมืองควรเป็นไปตาม “พัฒนาการ” ความเปลี่ยนแปลงของผู้ที่เข้าร่วมโครงการแทนการ

               มุ่งไปที่เป้าหมายของการเป็นพลเมืองตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือการประเมินความสำเร็จตามตัวชี้วัด (key



                                                                                                      153
   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169