Page 162 - kpi21595
P. 162
ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้การเสริมสร้างความเป็นพลเมืองมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต ผู้วิจัยจึง
สังเคราะห์ข้อมูลข้างต้นทั้งเงื่อนไขที่เป็นข้อจำกัดและเงื่อนไขที่มีแนวโน้มส่งเสริมต่อการสร้างความเป็นพลเมือง
เข้าด้วยกันและจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ ดังนี้
1) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและปฏิบัติการ
1.1) ส่งเสริมให้แกนนำพลเมืองพัฒนากระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่อย่าง
ต่อเนื่อง
ดังที่ได้ชี้ให้เห็นแล้วว่า “แกนนำพลเมือง” คือกลุ่มคนสำคัญในการเผยแพร่ความรู้ ความสำคัญของ
พลเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองสู่คนในพื้นที่ เนื่องด้วยคนกลุ่มนี้มีต้นทุนทางสังคมหลายประการ
อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่าแกนนำพลเมืองที่เข้ารับการอบรมโดยตรงจากสำนักส่งเสริม
การเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า ภายใต้โครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองในระยะแรกนั้น
แม้จะมีความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และพลเมืองกระตือรือร้นเพิ่มมากขึ้น โดยมีรู้ความ
เข้าใจ ความสำคัญและบทบาทของพลเมืองเป็นอย่างดี กระนั้น เมื่อพวกเขาต้องเผยแพร่องค์ความรู้สู่คนใน
ชุมชนด้วยตนเอง ก็พบว่ายังมีข้อท้าทายในการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมดำเนินการ และ
ร่วมประเมินผลการดำเนินโครงการของคนในชุมชน ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้แกนนำพลเมืองสามารถแสดง
ศักยภาพในการเผยแพร่ความเป็นพลเมืองสู่คนในชุมชนได้มากขึ้น พวกเขาจึงควรได้รับการพัฒนาศักยภาพ
อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นไปที่การเสริมทักษะ “การใช้เครื่องมือเพื่อเผยแพร่ความเป็นพลเมืองอย่างมีส่วนร่วม”
ให้เพิ่มมากขึ้นควบคู่กันไปกับการเสริมสร้างองค์ความรู้เรื่องความเป็นพลเมืองต่างๆ
ในการนี้ สถาบันพระปกเกล้า ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความเป็นพลเมืองใน
ระบอบประชาธิปไตยสู่คนในระดับพื้นที่ ควรจัดให้มีการพัฒนาศักยภาพแกนนำพลเมืองอย่างต่อเนื่อง โดยเน้น
การเสริม “เครื่องมือ” และองค์ความรู้ในการใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
ให้แก่แกนนำพลเมืองเพิ่มเติม เพื่อให้พวกเขาสามารถนำไปปรับใช้กับคนในชุมชนได้มากยิ่งขึ้น โดยองค์ความรู้
เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองอย่างมีส่วนร่วมสำหรับแกนนำพลเมืองนั้น มีอาทิ ทักษะการวิเคราะห์บทบาท
หน้าที่ของตนเพื่อแสวงหาช่องทางในการบูรณาการกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองสู่ปฏิบัติการใน
ชีวิตประจำวัน ทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์ในการจำแนกแยกย่อยกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองใน
รูปแบบต่างๆ และทักษะในการส่งเสริมการถอดบทเรียนร่วมกันเพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างแกนนำ
พลเมืองและคนในชุมชนเมื่อปฏิบัติการส่งเสริมความเป็นพลเมืองดำเนินการผ่านไปแล้วระยะหนึ่ง เป็นต้น
1.2) ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างแกนนำพลเมืองกับเครือข่ายทุกระดับ
ผลจากการศึกษาข้างต้นได้ชี้ให้เห็นแล้วว่าการบูรณาการเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ
นั้นมีความสำคัญต่อการผลักดันโครงการเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
อันจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการสร้างความเป็นพลเมืองสู่คนในระดับพื้นที่ ดังนั้น เพื่อให้การเนินโครงการ
151