Page 163 - kpi21595
P. 163

ปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองในระยะที่ 2 ของแกนนำพลเมืองมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงควรมีการแสวงหา

               ความร่วมมือจากเครือข่ายทุกระดับ ไม่เพียงแต่เครือข่ายที่เป็นหน่วยงานในระดับจังหวัด และอำเภอ อย่าง

               กรมการปกครอง และกรมการพัฒนาชุมชน หรือหน่วยงานด้านการศึกษา อย่างมหาวิทยาลัย และการศึกษา

               นอกระบบและการศึกษาตามอัทธยาศัย (กศน.) เท่านั้น แต่สถาบันทางสังคมที่ได้รับการยอมรับอย่าง “วัด”
               และ กลุ่ม “อาสาสมัครในระดับหมู่บ้าน” ต่างๆ ก็นับเป็นเครือข่ายสำคัญที่แกนนำพลเมืองควรให้ความสนใจ

               และแสวงหาความร่วมมือจากเครือข่ายเหล่านี้ให้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน

               เพราะคนกลุ่มนี้มีคุณลักษณะพิเศษในเรื่องของ “ใจ” ที่มีความสนใจและใส่ใจต่อความเป็นไปของชุมชน อัน

               เป็นต้นทุนสำคัญที่จะช่วยให้คนกลุ่มนี้สามารถเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันโครงการ/กิจกรรมเพื่อส่งเสริม

               ความเป็นพลเมืองให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมกว้างขวางต่อไปได้

                       1.3) ยกระดับโรงเรียนพลเมืองให้มีบทบาทมากขึ้น

                       จากข้อค้นพบที่ชี้ให้เห็นว่าแกนนำพลเมือง นักเรียนพลเมือง ตลอดจนคนในชุมชน ยังไม่สามารถใช้

               ประโยชน์จากโรงเรียนพลเมืองในฐานะ “พื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้” ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น เพื่อให้โรงเรียน

               พลเมืองสามารถเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างแกนนำพลเมือง นักเรียนพลเมือง คนในชุมชน ตลอดจน

               ทุกกภาคส่วนได้อย่างเต็มที่ จึงควรมีการยกระดับโรงเรียนพลเมืองให้มีบทบาทมากขึ้น ด้วยแนวทางดังต่อไปนี้


                       1.3.1 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์โรงเรียนพลเมืองให้เกิดการรับรู้อย่างกว้างขวาง
                       เพื่อให้โรงเรียนพลเมืองสามารถแสดงศักยภาพในการเป็น “พื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้” ได้อย่างเต็มที่

               ในขั้นตอนของการแนะนำโรงเรียนพลเมืองสู่คนในชุมชนนั้น แกนนำพลเมืองหรือผู้แทนจากสถาบัน

               พระปกเกล้าที่ลงไปทำความเข้าใจนั้น ควรเน้นย้ำสถานะของโรงเรียนพลเมืองในฐานที่เป็น “พื้นที่แลกเปลี่ยน

               เรียนรู้” พร้อมทั้งยกตัวอย่างลักษณะการใช้งานของโรงเรียนพลเมืองในหลากหลายมิติที่นอกเหนือไปจากการ

               เข้าเรียนในชั้นเรียนเท่านั้น อาทิ การใช้เป็นพื้นที่หารือปัญหาของชุมชน ใช้เป็นพื้นที่ประชาคมหมู่บ้าน การเป็น

               องค์การร่วมจัดงานต่างๆ เป็นองค์การอาสาสมัคร จิตอาสารูปแบบหนึ่งที่พร้อมจะทำกิจกรรมเพื่อส่วนรวม
               เป็นกลุ่มคนที่มีใจรักต่อการทำงานเพื่อส่วนรวมและเห็นแก่ประโยชน์ของชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างให้

               ผู้เข้าร่วมรับฟังเกิดความเข้าใจและเรียนรู้ว่าการเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ “โรงเรียนพลเมือง” มีได้ใน

               ลักษณะใดบ้างอย่างเป็นรูปธรรม ที่ผ่านมาผู้วิจัยมองว่าประเด็นเรื่องพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้รับการกล่าวถึง

               อยู่ไม่น้อย เพียงแต่ยังไม่ได้มีการเน้นย้ำสถานะดังกล่าว และยังไม่ได้มีการยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมขึ้นมาให้

               เห็นอย่างชัดเจนว่าการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้นเป็นอย่างไรได้บ้าง

                       1.3.2 สร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบสองทาง (active learning)

                       สืบเนื่องจากประเด็นการเป็น “พื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้” ของโรงเรียนพลเมือง เพื่อให้โรงเรียนพลเมือง

               บรรลุเป้าหมายในการเป็น “พื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้” อย่างแท้จริง ผู้วิจัยเสนอให้มีการใช้รูปแบบการเรียนการ





                                                                                                      152
   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168