Page 14 - kpi21595
P. 14

วิธีการศึกษาวิจัย

                       งานวิจัยชิ้นนี้ใช้การศึกษาแบบผสม (mixed method) ระหว่างการศึกษาเชิงปริมาณ (quantitative
               method) และการศึกษาเชิงคุณภาพ (qualitative method) เพื่อตอบวัตถุประสงค์ 2 ประการข้างต้น โดย

               เลือกใช้การศึกษาเชิงปริมาณ ผ่านเครื่องมือคือแบบสอบถาม (questionnaire) เพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อแรก

               เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และพลเมืองกระตือรือร้นของกลุ่มตัวอย่างภายหลัง
               มีปฏิบัติการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในระดับพื้นที่ โดยวัดจากความเปลี่ยนแปลงของคะแนนความเป็น

               พลเมืองตระหนักรู้และพลเมืองกระตือรือร้นเปรียบเทียบก่อนและหลังมีปฏิบัติการ ของ 2 กลุ่มตัวอย่าง
               ทั้งกลุ่มที่เข้ารับการอบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้า และกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้รับการอบรมโดยตรงจาก

               สถาบันพระปกเกล้าแต่คาดว่าจะได้รับการพัฒนาความรู้โดยแกนนำพลเมือง ว่ามีการเปลี่ยนแปลงของคะแนน

               ความเป็นพลเมืองหรือไม่อย่างไรในระดับใด
                       ขณะที่ การศึกษาเชิงคุณภาพนั้นมุ่งตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ในเรื่องของเงื่อนไขปัจจัยที่ส่งเสริมหรือ

               ขัดขวางต่อการสร้างสำนึกพลเมืองตระหนักรู้และพลเมืองกระตือรือร้นในระดับพื้นที่ และเพื่อเติมเต็มความ
               สมบูรณ์ของผลการศึกษาที่ได้รับจากการศึกษาเชิงปริมาณในส่วนแรก โดยเครื่องมือสำคัญที่ใช้ประกอบด้วย

               การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (semi structured interview) กับกลุ่มแกนนำพลเมืองและกลุ่มตัวอย่างใน

               พื้นที่ การสนทนากลุ่ม (focus group) ผู้นำท้องที่ผู้นำท้องถิ่น และการตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง
               ประกอบด้วย แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ และข้อบัญญัติท้องถิ่น เพื่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลตาม

               แบบการตรวจสอบสามเส้า (triangulation) จากแหล่งข้อมูลที่ต่างกัน


               ขอบเขตในการศึกษาวิจัย

                       ขอบเขตด้านพื้นที่การศึกษา งานวิจัยชิ้นนี้เลือกดำเนินการใน 10 อำเภอนำร่อง จังหวัดร้อยเอ็ด
               ซึ่งเป็นพื้นที่ดำเนินโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมือง ของสถาบันพระปกเกล้า โดยสำนักส่งเสริม

               การเมืองภาคพลเมือง ประกอบด้วย อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอธวัชบุรี อำเภอปทุมรัตต์ อำเภอสุวรรณภูมิ

               อำเภอโพนทอง อำเภอเสลภูมิ อำเภอจังหาร อำเภอพนมไพร อำเภอหนองพอก และอำเภอเกษรตรวิสัย โดยใน
               ส่วนของการเก็บแบบสอบถามนั้นจะดำเนินการกับกลุ่มตัวอย่างใน 10 อำเภอนำร่อง แต่การศึกษาเชิงคุณภาพ

               ซึ่งใช้การสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่นั้น ผู้วิจัยจะคัดเลือกอำเภอนำร่องอย่างน้อย 3 แห่งจากผลคะแนน
               ความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และกระตือรือร้นที่เปลี่ยนแปลงไปมากที่สุด ปานกลาง และน้อยที่สุด ตามลำดับ

               เพื่อลงพื้นที่เก็บข้อมูลเชิงลึกต่อไป

                       สำหรับขอบเขตด้านประชากรนั้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มประชากรตัวอย่างที่ได้รับการอบรม
               โดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้า โดยสำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง ในที่นี้คือแกนนำพลเมืองใน 10

               อำเภอนำร่อง อีกกลุ่มคือประชากรตัวอย่างที่ไม่ได้รับการอบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้า แต่คาดว่าจะ

               ได้รับผลกระทบจากปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองในระยะที่ 2 ของแกนนำพลเมืองในระดับอำเภอ สำหรับ
               การเก็บข้อมูลกับกลุ่มประชาทั้ง 2 จะจำแนกตามวิธีการศึกษา กล่าวคือ การศึกษาเชิงปริมาณผู้วิจัยจะเก็บ

               แบบสอบถามจากแกนนำพลเมืองที่เข้ารับการอบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้าทุกคน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่



                                                                                                        6
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19