Page 27 - kpi21595
P. 27
นักวิชาการเชื่อว่าการสร้างความเป็นพลเมืองนั้น มีหลายวิธีแต่ที่สำคัญที่สุดคือการส่งเสริมการศึกษา
(civic education) เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างสำนึกความเป็นพลเมืองให้แก่คนในชาติได้เกิดความ
ตระหนักในความสำคัญของการเป็นพลเมืองและบทบาทหน้าที่ของการเป็นพลเมืองในการร่วมกันพัฒนา
ประเทศ ในแง่นี้จะเห็นได้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นพลเมืองผู้ที่มีความตระหนักรู้ว่าเป็นฐานคิดสำคัญ
ของการเป็นพลเมืองที่มีความกระตือรือร้นตามลำดับ
ข้อเสนอเรื่องการส่งเสริมการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในทางปฏิบัติปรากฏชัดใน
หลักสูตรสร้างสำนึกพลเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกา (Civic Education of Center for Civic Education
of America) ซึ่งมุ่งเน้นเสริมสร้างการศึกษาเรื่องบทบาทความเป็นพลเมืองสู่เยาวชนตั้งแต่เยาว์วัย ทั้งในเรื่อง
ความรู้ (knowledge) ทักษะ (skill) และ เจตคติ (attitude/disposition) ของพลเมืองในระบอบ
ประชาธิปไตยที่เหมาะสม พร้อมทั้งส่งเสริมให้เยาวชนเหล่านี้มีการแสดงออกในการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่าน
การกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาในชุมชนหรือโรงเรียนด้วยตนเอง อันเป็นการปลูกฝังความเป็น
พลเมืองทั้งสองประเภทสู่เยาวชนตั้งแต่วัยเยาว์ผ่านการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติควบคู่กัน
1
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล เป็นนักวิชาการชาวไทยอีกท่านที่ให้ความสนใจกับการส่งเสริมการศึกษาเพื่อ
สร้างความเป็นพลเมือง โดยเขากล่าวว่าการสร้างความเป็นพลเมืองไม่ใช่กฎธรรมชาติแต่ต้องสร้างผ่านการ
ส่งเสริมการศึกษา (civic education) ส่งเสริมการเรียนรู้และฝึกฝน เขาได้ยกตัวอย่างการสร้างความเป็น
พลเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศเยอรมัน ว่าประเทศเหล่านี้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริม
การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองกับประชาชนของพวกเขาตั้งแต่เยาว์วัย โดยจะมีการเรียนการสอนการฝึก
ปฏิบัติผ่านการเรียนการสอนในโรงเรียนรวมไปถึงการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ออกไปสัมผัสปัญหาต่างๆของ
ชุมชนที่อยู่รอบโรงเรียน ได้ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาผ่านกระบวนการกลุ่ม เพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหา และ
ร่วมกันเสนอโครงการที่จะแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง วิธีการเช่นนี้จะช่วยให้นักเรียนได้มองออกไปไกลจากตนเองสู่
ผู้อื่นและสังคมมากยิ่งขึ้น
2
ด้าน ทิพย์พาพร ตันติสุนทร ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายศึกษา ผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องการความเป็น
พลเมือง ได้กล่าวถึงความสำคัญของการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองว่า การจัดการศึกษาเพื่อสร้างความเป็น
พลเมืองมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการพัฒนาคนให้มีวิถีประชาธิปไตย มีความเป็นพลเมืองที่พร้อมจะเสียสละ
เพื่อส่วนรวม มีชีวิตที่เห็นแก่ประโยชน์สาธารณะ และมีทักษะในการการแก้ไขปัญหาของชุมชน
3
อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมการศึกษาสำหรับพลเมืองเพียงประการเดียว ไม่อาจรับประกันได้ว่าจะสร้าง
พลเมืองที่มีความตระหนักรู้และมีความกระตือรือร้นได้อย่างแน่นอน เพราะนักวิชาการด้านการศึกษาต่างเห็น
พ้องกันว่าการศึกษาในห้องเรียนอย่างเดียวหรือแม้แต่การส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติอย่างเดียวไม่เพียงพอ
1 สถาบันพระปกเกล้า. โครงการสร้างสำนึกพลเมือง: Project Citizen Thailand. กรุงเทพฯ : ส.เจริญการพิมพ์, 2549.
2 ปริญญา เทวนฤมิตรกุล. “การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง (civic education) แก้ปัญหาการเมืองไทยโดยสร้างประชาธิปไตยที่คน” ใน
เอกสารสรุปการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้าครั้งที่ 13 เรื่องความเป็นพลเมืองกับอนาคตประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า
, 2555. หน้า 473-496.
3 ทิพย์พาพร ตันติสุนทร. การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง: Civic Education for Thai Society. กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา, 2557.
17